กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/457
ชื่อเรื่อง: กลไกทางกฎหมายของรัฐกับการคุ้มครองเกษตรกรในระบอบเกษตรพันธสัญญาภาคปศุสัตว์ของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The government mechanism regulations involving farmer protection in the contract farming regime of livestock in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชุมพล นาครินทร์, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
เกษตรพันธสัญญา -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความไม่เป็นธรรมของเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ภายใต้ระบอบเกษตรพันธสัญญา 2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเกษตรกร โดยกลไกของรัฐ 3) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานําไปเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ 4) เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในการทําเกษตรพันธสัญญาของประเทศไทย วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลและศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง บทบัญญัติของกฎหมาย บทความ หนังสือ วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระบอบการทําเกษตรพันธสัญญาอาจจะเป็นระบบประกันรายได้ แต่ข้อเท็จจริงมีปัญหาอํานาจต่อรองของคู่สัญญา จึงเกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมเสมอมา 2) ปัจจุบันได้มี พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเกษตรพันธสัญญา จดแจ้งขึ้นทะเบียน จัดทําเอกสารชี้ชวน ร่างสัญญาและเปิดเผยให้เกษตรกรตรวจสอบ ก่อนทําสัญญา และการทําสัญญาต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวหากฝ่าฝืนจะมีโทษเปรียบเทียบ ปรับตามกฎหมาย และต้องมีการไกล่เกลี่ยก่อนนําคดีขึ้นสู่อนุญาโตตุลาการหรือชั้นศาล นอกจากนี้ ยังมีกลไกเชิงนโยบายของคณะกรรมการเกษตรพันธสัญญา และสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในการเสนอแผนการพัฒนาเกษตรพันธสัญญาและปัญหาเกษตรกรต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรได้ 3) เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตราทางกฎหมายที่ใช้ภายในประเทศบางส่วนคล้ายคลึงกับกฎหมาย ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม 4) พระราชบัญญัติดังกล่าวคุ้มครองเฉพาะเกษตรกรบุคคลธรรมดา และไม่มีพนักงานเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ในการบังคับใช้กฎหมาย จึงยังมีปัญหาความไม่เป็นธรรมในระดับพื้นที่ ถึงแม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้แล้ว ดังนั้น ควรแก้ไขนิยามเกษตรกรให้รวมถึงเกษตรกร ที่เป็นนิติบุคคลด้วยและกำหนดให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมวิชาการเกษตรเป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อควบคุมกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายในระดับพื้นที่
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/457
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib161989.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons