กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4580
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : ศึกษากรณีการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และอำนาจในการยุบสภา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Governance of state under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 : a case study of problems on the head of executive, relations to the senate and power to dissolve parliament
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรเดช มโนลีหกุล
สุบัณฑิต หลวงศรี, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารรัฐกิจ
นายกรัฐมนตรี
สมาชิกวุฒิสภา--การเลือกตั้ง
การยุบสภา--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยศึกษาการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี การได้มาซึ่งวุฒิสภาและอำนาจในการยุบสภา ที่ทำให้ฝ่ายบริหารไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ตามกลไกของระบอบประชาธิปไตย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากหนังสือ หนังสือที่พิมพ์ในโอกาสพิเศษ หนังสือแปล บทความในวารสาร วิทยานิพนธ์ จุลสารและเอกสารไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีบทบัญญัติ ที่ไม่เป็นไปตามแนวคิด ทฤษฎีในทางกฎหมาย โดยการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ไม่เป็นไปตามทฤษฎีสัญญาประชาคมและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนการได้มาการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ไม่เป็นไปตามทฤษฎีสัญญาประชาคม หลักการถ่วงดุลและคานอำนาจ หลักการปกครองในระบบรัฐสภา รวมถึงอำนาจในการยุบสภา ไม่เป็นไปตามทฤษฎีดุลยภาพ หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักการถ่วงดุลและคานอำนาจ และหลักการปกครองในระบบรัฐสภา โดยทั้งสามกรณีทำให้ระบบกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยเกิดความบกพร่อง ส่งผลถึงการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร ทำให้การพัฒนาประเทศและการส่งเสริมประชาธิปไตยไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ได้เสนอแนะให้มีการยกเลิกและแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในมาตรา 88 ประกอบ มาตรา 272, มาตรา 107 และมาตรา 151
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4580
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons