Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4584
Title: อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจในการตรวจค้นยานพาหนะส่วนบุคคล
Other Titles: Police powers to search personal vehicles
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสรี เตียมวงค์, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การสอบสวนของตำรวจ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: ในการศึกษาเรื่องอำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจในการตรวจค้นยานพาหนะส่วนบุคคลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาและมาตรการในการรักษาความสมดุลระหว่างการใช้อำนาจรัฐในการค้นยานพาหนะส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการกระทำความผิด กับหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้ครอบครองยานพาหนะ ซึ่งมีเสรีภาพในการเดินทางตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ว่ารัฐควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กับ สภาวะความเป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งมีการตราพระราชบัญญัติต่าง ๆ ขึ้นมารองรับการบังคับใช้กฎหมายในการตรวจค้นยานพาหนะแล้ว แต่ยังไม่มีการแก้ไขในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้อำนาจในการตรวจค้นยานพาหนะแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจแต่อย่างใด การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร ตำรากฎหมาย ผลการวิจัย คำพิพากษาฎีกาตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่ได้พบเห็นจากประสบการณ์พบว่า ยานพาหนะที่เป็นรถยนต์อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1) รถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะสำหรับเดินทาง 2) รถยนต์ที่ใช้เป็นพาหนะในการขนส่งสินค้าและคนโดยสาร 3) รถยนต์ที่ใช้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราวในขณะเดินทางหรือระหว่างพักการเดินทาง การตรวจค้นยานพาหนะตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2 ในที่สาธารณะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้หมายค้น ส่วนการค้นตามข้อ 3 สมควรที่จะต้องมีหมายค้น สำหรับผู้มีอำนาจตรวจค้นควรจำกัดเฉพาะเจ้าพนักงานตารวจเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า อำนาจการค้นยานพาหนะของเจ้าพนักงานตำรวจนั้น เจ้าพนักงานทำการผู้ค้นต้องมีเหตุอันควรสงสัย (probable cause) ที่เป็นไปได้ว่าน่าจะมีการกระทำความผิด หรือมีสิ่งของผิดกฎหมายอยู่ในยานพาหนะ คือมีทั้งภาวะวิสัย และอัตวิสัย กล่าวคือมีทั้งข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เจ้าพนักงานรู้และทำให้เจ้าพนักงานเชื่อ และต้องมีข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่วิญญูชนทั่ว ๆ ไปเชื่อ จึงสามารถทำการค้นยานพาหนะได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4584
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons