กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4602
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problem on consideration of appeal against Administrative Orders of Local Governments under the Administrative Procedure Act, BE 2539 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สราวุธ ปิติยาศักดิ์ สุรวัฒน์ อยู่เป็นสุข, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี อุทธรณ์ วิธีพิจารณาความอาญา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาแนวคิดทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการกระจายอำนาจทางปกครองและความเป็นอิสระขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น การกำกับดูแลองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเหมาะสม การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารตำราหรือเอกสารวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความและเอกสารที่เกี่ยวกับความเป็นอิสระองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองและสัมภาษณ์ผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งรับผิดชอบเรื่องการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่าการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ออกตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยแท้ ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ก้าวล่วงไปถึงเรื่องความเหมาะสมและการใช้ดุลพินิจของผู้บริหารท้องถิ่น ทำให้ขัดแย้งกับหลักการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีอำนาจควบคุมเฉพาะความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น จึงควรแก้ไขการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ออกตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยแท้ โดยกำหนดให้ผู้กำกับดูแลมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์เฉพาะความชอบด้วยกฎหมายและหากเห็นว่าคำสั่งทางปกครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายให้มีอำนาจฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเท่านั้น แต่ในกรณีที่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองในเรื่องอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย ควรกำหนดให้ยื่นคำอุทธรณ์ต่อผู้บริหารท้องถิ่นเมื่อผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอุทธรณ์แล้วให้เป็นที่สุด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4602 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.32 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License