Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4608
Title: กระบวนพิจารณาคดีของศาลปกครองเกี่ยวกับการร้องสอดในคดีพิพาทเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยซึ่งเกิดจากการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
Other Titles: The procedure of the administrative court relating to interpleading in disputes about disciplinary action arising from The NACC Disciplinary Breach Indication
Authors: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพัตรา คำแท่ง, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ศาลปกครอง--การพิจารณาและตัดสินคดี
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “กระบวนพิจารณาคดีของศาลปกครองเกี่ยวกับการร้องสอด ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยซึ่งเกิดจากการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช.” มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือน 2) เพื่อศึกษา บทบาท และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับการชี้มูลความผิดทางวินัยข้าราชการพลเรือน 3) เพื่อศึกษาการร้องสอดในคดีปกครอง 4) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีของศาลปกครองในคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยอันเกิดจากการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลปกครองในคดีพิพาทดังกล่าว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการค้นคว้าและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากตัวบทกฎหมาย คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด คำพิพากษาศาลฎีกา ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประมวลสภาพปัญหาการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีปกครองในคดีพิพาทดังกล่าว ตามระบบกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อนำมาเทียบเคียงกับกระบวนพิจารณาคดีในศาลปกครองไทย ผลการศึกษาพบว่า ในทางพิจารณาคดีของศาลปกครองในคดีพิพาทดังกล่าว พบว่ามีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่แตกต่างกันขององค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีอันเกิดจากการตีความผลทางกฎหมายของ การชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามแนวทางของประเทศฝรั่งเศสทั้งที่ในประเทศฝรั่งเศสองค์กรปราบปรามคอร์รัปชันไม่มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ของไทยในกรณีดังกล่าว จึงส่งผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาคดี คือ กรณีที่ศาลไม่แสวงหาข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำให้มีการขอพิจารณาคดีใหม่ เป็นเหตุให้คดีไม่อาจเสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน ซึ่งกรณีดังกล่าวในต่างประเทศ เช่น ประเทศสาธารณรัฐเยอรมันนี จะมีการเรียกคู่กรณีเช่นว่านี้เข้ามาในคดีในลักษณะเป็นผู้ถูกเชิญให้เข้ามาในคดี และจากการศึกษาพบว่า การร้องสอดในคดีปกครองจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการฟ้องคดีและระยะเวลาการฟ้องคดี และการจะอนุญาตให้มีการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณาหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงขอเสนอแนะทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1) ให้มีการทบทวนบทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการชี้มูลความผิดทางวินัยข้าราชการ โดยให้ผลการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนทางวินัยของผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้บังคับบัญชา หรือ ก.พ.ค. ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดำเนินการทางวินัยมีโอกาสในการแก้ไขทบทวนการดำเนินการทางวินัย 2) แก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายโดยให้โอกาสคณะกรรมการป.ป.ช. ร้องสอดเข้ามาในคดี หรือให้หน่วยงานหรือผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอต่อศาลเพื่อเรียกให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เข้ามาในคดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4608
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.72 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons