กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4609
ชื่อเรื่อง: ข้อจำกัดการฟ้องคดีที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามคำพิพากษาที่เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงโดยเห็นว่าเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Limitation of the lawsuits following the execution of judgments revoking orders imposing punishment for a gross disciplinary breach on the ground that it does not constitute a gross disciplinary breach
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชัย รัตนสกาววงศ์
สุภาภร สิมนาม, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ศาลปกครอง--การพิจารณาและตัดสินคดี
การลงโทษ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนและการฟ้องคดีทางวินัยข้าราชการ การบังคับคดีภายหลังมีคำพิพากษาของศาล ข้อจำกัดการฟ้องคดีที่ฝ่ายปกครองหรือผู้บังคับบัญชามีคำสั่งลงโทษทางวินัยไม่ร้ายแรงภายหลังจากที่ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงในเหตุเดียวกัน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินการภายหลังมีคำพิพากษาที่เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง โดยเห็นว่าเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสาร จากตัวบทกฎหมาย หนังสือตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย คำพิพากษาศาลปกครองเกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง รวมทั้งเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินตามคำพิพากษาในชั้นการบังคับคดีที่มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงโดยเห็นว่าเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรงของข้าราชการพลเรือน เป็นกรณีที่ศาลปกครองได้ตัดสินฐานความผิดทางวินัยแล้ว แต่ในการบังคับคดีนั้นฝ่ายปกครองต้องเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในการบังคับคดีนั้นผู้บังคับบัญชาต้องพิจารณาลงโทษใหม่อีกครั้ง เพราะถือว่าข้าราชการผู้นั้นยังคงมีความผิดวินัยไม่ร้ายแรงที่ยังอาจลงโทษได้หลายสถานตามความหนักเบา เมื่อผู้ได้รับคำสั่งลงโทษทางวินัยในครั้งหลังนี้ เห็นว่าโทษที่ตนได้รับนั้นหนักเกินไปต้องอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่เกิดจากการดำเนินการตามคำพิพากษา ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) และสิ้นสุดกระบวนการโต้แย้งคำสั่งทางปกครองเพียงชั้น ของ ก.พ.ค. เท่านั้น ไม่มีสิทธินำคำสั่งทางปกครองที่เกิดจากการดำเนินการตามคำพิพากษาดังกล่าวยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้อีกเนื่องจากคำพิพากษาของศาลปกครองในเรื่องดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4609
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons