Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4613
Title: การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
Other Titles: Submission of property and debt list to the National Anti-Corruption Commission
Authors: ภาณินี กิจพ่อค้าม อาจารย์ที่ปรึกษา
สุริศา ม่วงเรือง, 2528- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าราชการ--การแสดงทรัพย์สิน--ไทย
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ทรัพย์สิน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความสำคัญของปัญหาเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐและศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน การทุจริตคอร์รัปชัน กระบวนการ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของประเทศไทย และตามกฎหมายต่างประเทศ โดยนำมาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามหลักเกณฑ์และวิธีการในปัจจุบัน เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายและการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินให้มีความเหมาะสมและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ใช้ข้อมูลจากเอกสารเป็นหลักในการวิจัย อันได้แก่ เอกสารที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ อาทิเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง และมติของคณะกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เอกสารที่เป็นข้อมูลทุติยภูมิ อาทิเช่น วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี บทความ วารสาร ตลอดจนข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นมาตรการที่มุ่งหมายให้เกิดความโปร่งใสในการดำรงตำแหน่งสาธารณะของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งในการกำหนดช่วงระยะเวลาหรือความถี่ในการยื่นบัญชี รวมถึงรูปแบบ และหลักเกณฑ์ในการแสดงรายการทรัพย์สินอื่นที่ยากต่อการพิสูจน์ถึงความมีอยู่จริงจึงมีความสำคัญ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า การไม่สร้างภาระจนเกินความจำเป็นแก่ผู้มีหน้าที่ยื่นและเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิผลที่ทางราชการจะได้รับ ดังนั้น ช่วงระยะเวลาสำหรับการยื่นบัญชีควรจะต้องยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่ง โดยในระหว่างการดำรงตำแหน่ง หากมีการเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินหรือหนี้สินไปจากที่ยื่นไว้เมื่อเข้ารับตำแหน่ง เช่น เพิ่มขึ้น ลดลง เกิดขึ้นใหม่ และสิ้นสุดลง ให้ยื่นความเปลี่ยนแปลงนั้นทันที ทั้งนี้ ต้องมีการกำหนดอัตราร้อยละของความเปลี่ยนแปลงที่ต้องยื่นแสดงด้วย และไม่จำเป็นต้องตรวจสอบทุกบัญชีหรือทุกการเปลี่ยนแปลงที่ยื่นแสดง รวมทั้งออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นแสดงรายการทรัพย์สินอื่น โดยกำหนดเอกสารหลักฐานและรายละเอียดที่จำเป็นต้องแจ้ง เช่น แหล่งที่มาของทรัพย์สิน รวมถึงกำหนดแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการทรัพย์สินอื่นโดยเฉพาะ โดยนำแนวทางการตรวจสอบของสาธารณรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ มาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4613
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons