Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4618
Title: สิทธิได้รับทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง
Other Titles: Rights to know the facts and argue the evidence of the administrative proceedings
Authors: ภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพิตา เดชาวัฒน์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
สิทธิผู้ต้องหา
การพิจารณาคดี
กฎหมายกับข้อเท็จจริง
พยานหลักฐาน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง สิทธิได้รับทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย หลักกฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับสิทธิและกระบวนการพิจารณาทางปกครอง (2) ให้ทราบถึงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (3) วิเคราะห์ปัญหาและหลักการคุ้มครองสิทธิได้รับทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน (4) เสนอแนะแนวทางในการกำหนดเป็นมาตรการคุ้มครองสิทธิของคู่กรณีในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงทางคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร ที่รวบรวมข้อมูลจากบทบัญญัติของกฎหมาย คำพิพากษาศาลปกครองของไทยและต่างประเทศ หนังสือ บทความ รวมถึงข้อมูลทางวิชาการบนอินเทอร์เน็ตและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า แม้จะมีการรับรองสิทธิของคู่กรณีที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง แต่ยังพบปัญหาในทางปฏิบัติโดยกฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองสามารถใช้ดุลยพินิจได้อย่างกว้างขวางเช่นกรณีการออกกฎหมายลำดับรองหรือกรณีอ้างความจำเป็นรีบด่วนซึ่งเป็นข้อยกเว้นไม่จำต้องให้คู่กรณีได้รับทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน รวมไปถึงการปฏิเสธสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่คู่กรณีจำเป็นต้องรู้เพื่อปกป้องสิทธิของตน จากปัญหาดังที่กล่าว ผู้วิจัยจึงเสนอแนะเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหากฎหมายตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่ต้องถือปฏิบัติและจำกัดอำนาจ ดุลยพินิจฝ่ายปกครอง เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของคู่กรณีในทางปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4618
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons