กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4619
ชื่อเรื่อง: ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนชลประทานวิทยา จังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organizational commitment of teachers in Chonprathan Wittaya School, Nonthaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์
วันวิสา ยุระชัย, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ครู--ทัศนคติ
ความผูกพันต่อองค์การ--ไทย--นนทบุรี
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนชลประทานวิทยา จังหวัดนนทบุรี (2) เปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนชลประทานวิทยา จำแนกตามเพศ อายุ ภูมิลำเนาและประสบการณ์ทำงานและ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนชลประทานวิทยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนชลประทานวิทยา จำนวน172 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ จากนั้นจึงสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกันจำนวน 4 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่าเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนชลประทานวิทยา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลาดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความผูกพันในด้านจิตใจ ด้านความผูกพันด้านองค์กร และด้านความผูกพัน ด้านความคงอยู่ (2) ผลการเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนชลประทานวิทยา จำแนกตามเพศ อายุ ภูมิลำเนา และประสบ การณ์ทำงานพบว่า 1) ครูที่มีเพศและภูมิลำเนาแตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ครูที่มีอายุแตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีอายุมากกว่า 40 ปีมีความผูกพันต่อองค์กรสูงกว่าครูที่มีอายุระหว่าง 20 – 40 ปี และ 3) ครูที่มีประสบการณ์ทำงานแตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรในภาพรวม ด้านจิตใจ และด้านความคงอยู่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 15 ปี มีความผูกพันต่อองค์กรสูงกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 10 ปีลงไป และ (3) แนวทางการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรของครู ประกอบด้วย ควรมีการร่วมกันสร้างเชื่อเสียงให้กับโรงเรียน ควรเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหา ควรมีการให้ข้อมูลและติดตามการปฏิบัติตามนโยบายโรงเรียนอย่างเคร่งครัด และ ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4619
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_164611.pdf13.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons