กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/461
ชื่อเรื่อง: | การกำหนดวิทยฐานะข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Specification of academic qualification of government teachers under the government teachers and education personnel Act B.E. 2547 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลาวัลย์ หอนพรัตน์ เชาวลิต เหล่าชัย, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สิริพันธ์ พลรบ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ ครู--การรับรองวิทยฐานะ ครู--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์แนวติดและกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดวิทยฐานะข้าราชการครูของประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์และระบบกฎหมายซีริลลอว์ (2) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการกำหนดวิทยฐานะของข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (3) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายในการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาของต่างประเทศ ทั้งในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และระบบกฎหมายซีวิลลอว์บางประเทศ กับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และกฎหมายในการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาฉบับอี่นที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย และ (4) เสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของการกำหนดวิทยฐานะให้มีการกำหนดวิทยฐานะข้าราชการครูที่มีความเหมาะสม สัมพันธ์กับผลลัมฤทธิที่สูงขึ้นของผู้เรืยน งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสาร จาก กฎหมาย ตำรา และบทความทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดวิทยฐานะข้าราชการครูมีปัญหาด้านความเหมาะสมของระบบการ กำหนดเงินวิทยฐานะตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ทั้งในด้านการได้รับค่าตอบแทน และมีปัญหาในด้านการกำหนดวิทยฐานะข้าราชการครูไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจ ให้ครูพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่มีคุณภาพสูงและสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ดังนั้น จึงควรปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เอื้อประโยชน์และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิทางการเรียนที่สูง และควรปรับปรุงพระราชบัญญัติเงินเดึอนเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ขั้นเงินเดือนของครูบรรจุใหม่สูงกว่าปัจจุบัน ขยายฐานเงินเดึอน ค่าตอบแทน สว้สดิการ และสิทธิประโยชน์จูงใจต่าง ๆ ของข้าราชการครูให้สูงขึ้น ให้เพียงพอกับการดำรงชีพและสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/461 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib127864.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License