Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4635
Title: สหภาพแรงงานฝ่ายบริหารในรัฐวิสาหกิจ
Other Titles: Administrative section of labor union in state enterprises
Authors: ชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุขี ผ่องอำไพ, 2507- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหภาพแรงงาน--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ.
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง สหภาพแรงงานฝ่ายบริหารในรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและวิวัฒนาการของ สหภาพแรงงานฝ่ายบริหารในรัฐวิสาหกิจ เพื่อศึกษา สิทธิ เสรีภาพ ในการรวมตัวกันเป็น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายแรงงานของประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ถึงหลักการที่เกี่ยวการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และการเป็นสมาชิก เพื่อวิเคราะห์ สิทธิในการจัดตั้งและการเป็นสมาชิกของลูกจ้างฝ่ายบริหารในรัฐวิสาหกิจ ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เปรียบเทียบกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายแรงงานของประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เพื่อหาแนวทาง ในการแก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ให้ลูกจ้างทั้งหมดในรัฐวิสาหกิจ มีความเท่าเทียมกัน เสมอภาคในการจัดตั้งและเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ต่อไป การค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากตำรา บทความ งานวิจัยทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ตัวบทกฎหมาย ทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ กฎหมายไทย ที่เกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้ได้ ข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2543 อันเกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งสหภาพแรงงานและการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานฝ่ายบริหารในรัฐวิสาหกิจต่อไป จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 นั้น มีบทบัญญัติบางประการอันส่งผลต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพของลูกจ้างฝ่ายบริหารในรัฐวิสาหกิจ ทำให้ ไม่สามารถใช้สิทธิในการรวมตัวและดำเนินกิจกรรมในรูปของสหภาพได้ อันแสดงให้เห็นถึงความ ไม่เสมอภาค และความไม่เท่าเทียมกันในทางกฎหมาย ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาทางกฎหมาย คือสร้างความชัดเจนในการให้คำนิยาม “ลูกจ้างฝ่ายบริหาร” และให้สิทธิในการรวมตัว ในการจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ และควรกำหนดให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถมีสหภาพแรงงานได้มากกว่า 1 สหภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4635
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons