กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4640
ชื่อเรื่อง: | การบังคับคดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับผู้ค้างชำระภาษี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal execution of local administrative organizations against people who owe taxes |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภาณินี กิจพ่อค้า หนูไกร โปร่งมณี, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การบังคับคดี การชำระบัญชี |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การบังคับคดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับผู้ค้างชำระภาษี ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบังคับคดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับผู้ค้างชำระภาษี (2) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องการบังคับคดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับผู้ค้างชำระภาษี (3) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติสำหรับ การยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับผู้ค้างชำระภาษี การค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการการบังคับคดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับผู้ค้างชำระภาษี นอกจากนี้ยังได้ศึกษาแนวทางมาตรการบังคับทางปกครองตามประมวลรัษฎากร การบังคับทางแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ผลการศึกษาพบว่า (1) มาตรการบังคับคดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับผู้ค้างชำระภาษีตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ยังไม่ชัดเจนในวิธีการปฏิบัติตลอดจนขั้นตอนการดำเนินการ (2) คำสั่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ออกโดยอาศัยระเบียบดังกล่าวขาดความน่าเชื่อถือทำให้เกิดปัญหาการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ และปัญหาการไม่อาจเข้าถึงข้อมูลทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ค้างชำระภาษี เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีข้อมูลทรัพย์สินของลูกหนี้ (3) กรณีขอให้สำนักงานอัยการว่าต่างคดีให้กับองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานอัยการสูงสุดมักจะขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามระเบียบดังกล่าวก่อน (3) องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีโดยจ้างทนายความ (4) ควรออกระเบียบที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้การใช้มาตรการบังคับทางปกครองเกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน และจัดตั้งหน่วยงานบังคับทางปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เป็นหน่วยงานบังคับทางปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4640 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.43 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License