Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/464
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สารีพันธุ์ ศุภวรรณ | - |
dc.contributor.author | วรางคณา โตโพธิ์ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2022-08-11T02:44:53Z | - |
dc.date.available | 2022-08-11T02:44:53Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.citation | วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 14, ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2564), หน้า 168-182 | th_TH |
dc.identifier.issn | 1905-4653 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/464 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องจิตสาธารณะ สำหรับครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดนนทบุรี 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องจิตสาธารณะ 3) ศึกษาผลการฝึกอบรม เรื่องจิตสาธารณะ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องจิตสาธารณะ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาความต้องการหลักสูตรฝึกอบรม ได้แก่ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดนนทบุรี จำนวน 118 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ได้แก่ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดนนทบุรี จำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) แบบสอบถามความต้องการหลักสูตรฝึกอบรม 2) หลักสูตรฝึกอบรม 3) แบบทดสอบ และแบบประเมินกิจกรรมการฝึกอบรม และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดนนทบุรี มีความต้องการหลักสูตรฝึกอบรมในระดับมาก 2) หลักสูตรฝึกอบรมเรื่องจิตสาธารณะ สำหรับครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดนนทบุรี มีองค์ประกอบได้แก่ หลักการและเหตุผล กลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม สื่อประกอบการอบรม การประเมินผล และระยะเวลาอบรม โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับดี และมีค่าประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม 78.00 / 82.08 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3) ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนมีผลคะแนนระหว่างการฝึกอบรม ร้อยละ 78 และมีผลการอบรมหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมว่าเหมาะสมในระดับมาก | th_TH |
dc.language.iso | other | th_TH |
dc.publisher | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | - |
dc.subject | ครู -- การฝึกอบรม | th_TH |
dc.subject | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | th_TH |
dc.title | การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องจิตสาธารณะสำหรับครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนนทบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Development of a training program on public mind for Non- formal Education volunteer teachers in Nonthaburi Province | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were (1) to study the needs of the non-formal education volunteer teachers in Nonthaburi province for training program on public-mindedness; (2) to develop a training program on public-mindedness for non-formal volunteer teachers; (3) to study the results of the training program on public-mindedness; and (4) to study the teachers’ opinions toward the training program on public-mindedness. The research population comprised 118 non-formal education volunteer teachers in Nonthaburi province. The research sample consisted of 42 non-formal education volunteer teachers in Nonthaburi province, obtained by stratified random sampling method. The employed research instruments comprised (1) a questionnaire to assess the needs for training program on public-mindedness; (2) a training program on public-mindedness; (3) an achievement test for pre-testing and post-testing, and a training activity assessment form; and (4) a questionnaire on opinions toward the training program. Data were analyzed using the frequency, percentage, E1/E2 efficiency index, mean, standard deviation, and t-test dependent. Research findings indicated that (1) the non-formal education volunteer teachers in Nonthaburi province had the needs for training program on public-mindedness at the high level; (2) The developed training program on public-mindedness for non-formal education volunteer teachers in Nonthaburi province was composed of 8 components, namely, the rational, the target group, the objectives, the contents, the activities, the training media, the evaluation, and the program duration; the experts evaluated the training program as being at the good level; and the training program was efficient at 82.08/78.00, thus meeting the set efficiency criterion of 80/80; (3) the non-formal education volunteer teachers in the research sample had formative evaluation mean score of 78 percent of the full score; also, their post-training mean score was significantly higher than the pre-training counterpart mean score at the .05 level; and (4) the non-formal education volunteer teachers in the research sample had opinions that the training program was appropriate at the high level | en_US |
Appears in Collections: | STOU Education Journal |
This item is licensed under a Creative Commons License