Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/468
Title: | ความท้าทายต่อความสำเร็จของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในจังหวัดภูเก็ต |
Other Titles: | Challenges of the successful homeschooling in Phuket Province |
Authors: | สมเกียรติ สัจจารักษ์ |
Keywords: | การจัดการศึกษาโดยครอบครัว |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Citation: | วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2564), หน้า 15-30 |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการจัดการศึกษา 2) เหตุผลในการเลือกจัดการศึกษา 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษา และ 4) ปัญหา อุปสรรค และความต้องการความช่วยเหลือในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้จัดการศึกษาในจังหวัดภูเก็ต 33 ครอบครัว และตัวแทนจากหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดการศึกษา 15 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก แนวคำถามสนทนากลุ่ม แบบสังเกต และแบบวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการศึกษาโดยครอบครัวในจังหวัดภูเก็ต จัดแบบครอบครัวเดี่ยว มีการร่วมกิจกรรมกับครอบครัวอื่นบ้าง โดยจัดทำแผนให้สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน เน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วัดและประเมินผลตามสภาพจริง 2) เหตุผลในการเลือกจัดการศึกษา ได้แก่ เพื่อให้ตรงความต้องการและความถนัดของผู้เรียน การศึกษาในระบบไม่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้ ปัญหาด้านสุขภาพ ต้องการติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด นักเรียนที่ขาดโอกาสได้กลับมาเรียนต่อในระบบได้ และได้เติบโตในสิ่งแวดล้อมที่เคร่งศาสนา 3) ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการศึกษา ได้แก่ ผู้จัดการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษา มุ่งมั่นตั้งใจให้ความร่วมมือ มีความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ มีเครือข่ายบ้านเรียนที่เข้มแข็ง มีผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ เจ้าหน้าที่ คอยดูแลตลอดจนมีคณาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เป็นที่ปรึกษา และ 4) ปัญหา อุปสรรค และ ความต้องการความช่วยเหลือ ได้แก่ ขาดการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมเสริมความรู้ให้แก่ผู้จัดการศึกษา และนักเรียนขาดโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ ผู้ปกครองยังขาดความเข้าใจในรูปแบบการจัดการศึกษา และขาดงบประมาณสนับสนุน ด้านความต้องการความช่วยเหลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ควรทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับโรงเรียนในการขอเข้าเรียนร่วม หรือใช้แหล่งเรียนรู้ ประสานให้แต่ละครอบครัวรวมกลุ่มจัดกิจกรรม ตลอดจนประชาสัมพันธ์รูปแบบการจัดการศึกษาให้ผู้คนได้เข้าใจ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/468 |
ISSN: | 1905-4653 |
Appears in Collections: | STOU Education Journal |
This item is licensed under a Creative Commons License