กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4741
ชื่อเรื่อง: | ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 5E โดยใช้โปรแกรม GSP เรื่อง วงกลมและพาราโบลาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนระยองวิทยาคม จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of the 5E learning management using the geometer's sketchpad program in the topic of circles and Circles and Parabolas on mathematics learning achievement of Mathayom Suksa IV students at Rayong Wittayakom School in Rayong Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปรีชา เนาว์เย็นผล สุชีรา ศุภพิมลวรรณ, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) คณิตศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน คณิตศาสตร์--การสอนด้วยสื่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--คณิตศาสตร์ การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง วงกลมและพาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ 5E โดยใช้โปรแกรม GSP และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องวงกลมและพาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ 5E โดยใช้โปรแกรม GSP โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จานวน 45 คน ใน 1ห้องเรียน ของโรงเรียนระยองวิทยาคม จังหวัดระยอง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E โดยใช้โปรแกรม GSP เรื่องวงกลมและพาราโบลา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียน เรื่อง วงกลมและพาราโบลาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 5E โดยใช้โปรแกรม GSP สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียน เรื่อง วงกลมและพาราโบลาของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 79.27 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4741 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_137356.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.8 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License