กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/477
ชื่อเรื่อง: | การสังเคราะห์ความหมาย องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ของความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Synthesis of meaning, component, and indicators of scientific citizenship |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิภา อาสิงสมานันท์ สุรีย์พร สว่างเมฆ มลิวรรณ นาคขุนทด |
คำสำคัญ: | วิทยาศาสตร์ -- แง่สังคม |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
แหล่งอ้างอิง: | วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2564), หน้า 75-89 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ความหมาย องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์ และ 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของความหมาย องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์ โดยทำการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร ช่วง พ.ศ. 2543 ถึง 2563 และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน แล้วทำการสังเคราะห์ความหมาย องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์ จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของผลการศึกษาโดยใช้แบบประเมินความเหมาะสม และปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) ความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์ หมายถึง บุคคลที่มีความรู้วิทยาศาสตร์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานในการดำรงชีวิต และแสดงจุดยืนของตนเองในสังคมได้อย่างมีเหตุผล มีองค์ประกอบ 3 ด้าน 7 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบด้านบุคคล หมายถึง บุคคลต้องมีความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์และความรู้วิทยาศาสตร์ร่วมสมัย มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ ความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ องค์ประกอบด้านปฏิสัมพันธ์ในสังคม หมายถึง บุคคลต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น มีการโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์และตัดสินใจบนพื้นฐานของความรู้วิทยาศาสตร์ ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันในสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ ความสามารถในการโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการตัดสินใจ องค์ประกอบด้านความตระหนักต่อสังคม หมายถึง บุคคลจะต้องตระหนักในตนเองทั้งความคิด การตัดสินใจ และการปฏิบัติตนในสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ การตระหนักในตัวบุคคล และการตระหนักต่อส่วนรวมตามหน้าที่ในสังคม และ 2) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมความหมาย องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/477 |
ISSN: | 1905-4653 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | STOU Education Journal |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License