Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4888
Title: การผลิตหอมแดงตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Shallot production adhering to good agricultural practice by farmers in Si Sa Ket Province
Authors: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฉันทนา ทองพันชั่ง, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
หอมแดง--การผลิต
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การผลิตหอมแดงตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตหอมแดงตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ (1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 49.92 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ยจำนวน 4.90 คน ส่วนมากเป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรอื่นๆ ไม่มีตาแหน่งทางสังคม และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตหอมแดงตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืชอาหารในระดับมากที่สุดจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ส่วนมากมีอาชีพหลักทำการเกษตร รายได้รวมทั้งปี เฉลี่ย 159,939.50 บาท รายได้จากการผลิตหอมแดง เฉลี่ย 52,988.74 บาท หนี้สินของครัวเรือน เฉลี่ย 157,816.35 บาท (2) พื้นที่ปลูกหอมแดงเฉลี่ย 3.43 ไร่ ผลิตหอมแดงปีละ 2 ครั้ง พื้นที่ปลูกหอมแดงที่รับรองแหล่งผลิต GAP พืช (หอมแดง) 1 -2 ไร่ และเป็นของตนเอง ใช้แรงงานในการปลูกหอมแดง เฉลี่ย 8.48 คน แหล่งน้ำส่วนมากอาศัยน้ำฝน พื้นที่เป็นที่ราบ คุณภาพของผลผลิตสะอาด สภาพทั่วไปของหอมแดงสมบูรณ์ ผลผลิตสม่ำเสมอ เกษตรกรทุกรายใช้หัวพันธุ์ปลูก มีการไถเตรียมดินเฉลี่ย 4.21 ครั้ง วัสดุปรับปรุงดินที่ใช้ในการเตรียมดินก่อนปลูกส่วนมากใช้ปูนขาว และต้นทุนการผลิตหอมแดง เฉลี่ย 17,525.67 บาทต่อไร่ (3) เกษตรกรเกือบทั้งหมดปฏิบัติตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืชอาหาร ในด้านการเตรียมการก่อนผลิต การจัดการผลผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช การจัดการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว และการจดบันทึกข้อมูลประจาแปลง (4) ปัญหาอยู่ในระดับความรุนแรงมากที่สุด ในการเลือกแหล่งน้ำที่มีเพียงพอ การอ่านฉลากคำแนะนาก่อนการใช้สารเคมี เนื่องจากพื้นที่ปลูกหอมแดงมากกว่าพื้นที่ปลูกหอมแดง ที่ได้รับ GAP และการเสนอแนะด้านการจัดหาแหล่งน้ำชลประทานในเขตผลิตหอมแดง การให้ความรู้เกษตรกร ผู้ปลูกหอมแดง ในการพยากรณ์การระบาดของศัตรูพืช การเชื่อมโยงตลาดแบบครบวงจร และสนับสนุนให้เกษตรกร ทาปฏิทินการเพาะปลูกหอมแดง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4888
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148080.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons