Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4899
Title: การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกผักในโรงเรือนของเกษตรกรในจังหวัดน่าน
Other Titles: Technology adoption of vegetable growing in greenhouses by farmers in Nan Province
Authors: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัฒนา ส่องแสง, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผัก--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เกษตรกร--ไทย--น่าน
การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปลูกผักในโรงเรือนของเกษตรกร (3) การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกผักในโรงเรือนของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการปลูกผักในโรงเรือนของเกษตรกร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 41.02 ปี สถานภาพแต่งงานแล้ว จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.28 คน เป็นชนเผ่าม้ง ระดับการศึกษาใกล้เคียงกันระหว่างต่ำกว่าประถมศึกษาและประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับข่าวสารระดับมากที่สุดจากเจ้าหน้าที่โครงการขยายผลโครงการหลวง ประสบการณ์ในการปลูกผักในโรงเรือนเฉลี่ย 1.50 ปี จำนวนแรงงานในครัวเรือนและแรงงานจ้างทางการเกษตร 2.64 คน และ 2.09 คน ตามลาดับ ขนาดพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 16.13 ไร่ รายได้รวมทางการเกษตรเฉลี่ยปีละ 148,745.83 บาท รายจ่ายทั้งหมดที่ปลูกผักในโรงเรือนเฉลี่ยปีละ 67,657.82 บาท จำนวนผลผลิตและราคาผักกินใบเฉลี่ยปีละ 1,482.86 กิโลกรัมๆ ละ 24.89 บาท และจำนวนผลผลิตและราคาผักกินผลเฉลี่ยปีละ 5,070.32 กิโลกรัมๆ ละ 48.00 บาท เกษตรกรเกือบครึ่งมีโรงเรือนขนาด 18 x 30 เมตร เฉลี่ย 1.33 โรงเรือน (2) เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกผักในโรงเรือนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และเกษตรกรส่วนน้อยมีความรู้ในประเด็นวัสดุปลูก ชนิดผักที่ปลูก และระบบการให้น้ำ (3) เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการปลูกผักในโรงเรือนเชิงความคิดเห็นระดับมากที่สุดใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การเตรียมกล้าและการปลูก และการบรรจุและการขนส่ง และเกษตรกรจำนวนมากที่สุดยอมรับนำไปปฏิบัติในทุกประเด็น นอกจากนี้ (4) เกษตรกรมีปัญหาการปลูกผักในโรงเรือนระดับมากใน 2 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมพื้นที่และโรงเรือน และการดูแลรักษาหลังการปลูก นอกจากนั้นเกษตรกรเห็นด้วยระดับมากในข้อเสนอแนะทุกประเด็น โดยเฉพาะประเด็นเกษตรกรควรรดน้ำผักในเวลาที่เหมาะสมตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่โครงการควรแนะนำเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะปลอดภัยให้มีสารเคมีตกค้างน้อยที่สุด
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4899
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148241.pdfเอกสาณฉบับเต็ม17.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons