กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4918
ชื่อเรื่อง: การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนงานอาชีพของครูผู้สอนระดับช่วงชั้นที่ 2 เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The utilization of local wisdom by teachers in career instruction for second lever students in Buriram Education Service Area 4
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรางคนา เลื่อยไธสง, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย -- บุรีรัมย์
ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- การศึกษาและการสอน
การศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า คือ เพื่อศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนงานอาชีพของครูผู้สอน ระดับช่วงชั้นที่ 2 เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนการงานอาชีพที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ระดับช่วงชั้นที่ 2 เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จํานวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของครูผู้สอนงานอาชีพมีการใช้อยู่ใน ระดับมาก ต่อไปนี้ คือ เนื้อหาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ คือ การเกษตรแบบผสมผสาน และประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม และ (2) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการใช้ในระดับมากที่สุด คือ รูปแบบการนํานักเรียนไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นตอนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ขั้นวางแผนครูสํารวจและรวบรวมแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นเตรียมการครูติดต่อประสานงานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นดําเนินการใช้ให้นักเรียนเรียนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยตนเอง วิธีการสอนให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจริง ขั้นประเมินผลการเรียนผู้มีส่วนร่วมประเมินผลการเรียนการสอน มีทั้งครู นักเรียน และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นผู้ประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบทดสอบ สื่อที่ใช้ คือ สื่อของจริง ครูมีบทบาทเตรียมแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น บทบาทของนักเรียน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะนักเรียนเป็นคนใฝ่รู้ในการเรียน ประโยชน์ที่ครูได้รับจากการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้จากแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง และปัญหาและอุปสรรค คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีเวลาว่างไม่ตรงตามที่โรงเรียนจัดให้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4918
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_119295.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons