Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/495
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิตยา เพ็ญศิรินภา | th_TH |
dc.contributor.author | บุษบงก์ กัลปนาไพร, 2511- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-11T07:02:23Z | - |
dc.date.available | 2022-08-11T07:02:23Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/495 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 | th_TH |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน วังหวัดนครสวรรค์ ประชากรในการวิจัยคือข้าราชการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามขนาดของโรงพยาบาลและสัดส่วนของกลุ่มอาชีพได้ตัวอย่าง 310 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยได้รับคืน 265 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีตัวแปรต่าง ๆ ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ ร้อยละ 73.6 มีความคิดเห็นต่อภาพพจน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านบวกร้อยละ 72.3 มีความคาดหวังถึงประโยชน์ต่อตน ร้อยละ 80.8 และมีการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 62.3 การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ขนาดโรงพยาบาลที่สังกัด ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ ความคิดเห็นต่อภาพพจน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความคาดหวังถึงประโยชน์ต่อตน มีความสัมพันธ์เชิงบวก ส่วนอายุและอายุราชการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความคิดเห็นต่อภาพพจน์ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ความคาดหวังถึงประโยชน์ต่อตน และกลุ่มอาชีพ โดยความคิดเห็นต่อภาพพจน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความคาดหวังถึงประโยชน์ต่อตน จะมีอิทธิพลในทางบวกต่อการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มอาชีพจะมีอิทธิพลในทางลบต่อการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ตัวสามารถร่วมกันอธิบายการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร้อยละ 42.5 ข้อเสนอแนะ การกระจายอำนาจด้านสุขภาพจะประสบความสำเร็จมากขึ้นถามีการเร่งทำความเข้าใจใน บทบาทหน้าที่ใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ทั้งกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบุคลากรของโรงพยาบาลทุก กลุ่ม รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับภายหลังมีการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจปกครอง--ไทย | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลชุมชน--ข้าราชการ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objective of this study was to analyze factors affecting the adoption of health decentralization to Local Administrative Organization of community hospital officers in Nakonsawan province. The research population was community hospital officers in Nakonsawan province. Three hundred and ten officers were stratified randomly sampled according to hospital size and occupational group proportion. Questionnaires were used for collecting data which 265 were returned. Data were analyzed by statistics of Chi -square, Pearson's Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression. The findings were as follows: Most of samples had a middle level of all these variables including decentralization knowledge at 73.6 percent, positive image of Local Administrative Organization at 72.3 percent, expected benefits for themselves at 80.8 percent, and the adoption of health decentralization to Local Administrative Organization at 62.3 percent. Hypothesis testing was found that hospital size, decentralization knowledge, image of Local Administrative Organization and expected benefits for themselves had positive correlation, whereas age and working years had negative correlation with the adoption of health decentralization at the .01 statistically significant level. Factors affecting the adoption of health decentralization, ordered from large to small affecting, were image of Local Administrative Organization, expected benefits for themselves and occupational group. Image of Local Administrative Organization and expected benefits for themselves had positive effect whereas occupational group had negative effect on the adoption of health decentralization. All of them could determine the variation of the adoption of health decentralization at 42.5 percent. This result suggested that health decentralization would be more successful if the understanding of Local Administrative Organization’s new role for both Local Administrative Organization and hospital officers is improved, including benefits that hospital officers will be get after the decentralization | en_US |
dc.contributor.coadvisor | คนองยุทธ กาญจนกูล | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License