กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/495
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิตยา เพ็ญศิรินภา บุษบงก์ กัลปนาไพร, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา คนองยุทธ กาญจนกูล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การกระจายอำนาจปกครอง--ไทย โรงพยาบาลชุมชน--ข้าราชการ |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน วังหวัดนครสวรรค์ ประชากรในการวิจัยคือข้าราชการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามขนาดของโรงพยาบาลและสัดส่วนของกลุ่มอาชีพได้ตัวอย่าง 310 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยได้รับคืน 265 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีตัวแปรต่าง ๆ ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ ร้อยละ 73.6 มีความคิดเห็นต่อภาพพจน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านบวกร้อยละ 72.3 มีความคาดหวังถึงประโยชน์ต่อตน ร้อยละ 80.8 และมีการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 62.3 การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ขนาดโรงพยาบาลที่สังกัด ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ ความคิดเห็นต่อภาพพจน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความคาดหวังถึงประโยชน์ต่อตน มีความสัมพันธ์เชิงบวก ส่วนอายุและอายุราชการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความคิดเห็นต่อภาพพจน์ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ความคาดหวังถึงประโยชน์ต่อตน และกลุ่มอาชีพ โดยความคิดเห็นต่อภาพพจน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความคาดหวังถึงประโยชน์ต่อตน จะมีอิทธิพลในทางบวกต่อการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มอาชีพจะมีอิทธิพลในทางลบต่อการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ตัวสามารถร่วมกันอธิบายการยอมรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร้อยละ 42.5 ข้อเสนอแนะ การกระจายอำนาจด้านสุขภาพจะประสบความสำเร็จมากขึ้นถามีการเร่งทำความเข้าใจใน บทบาทหน้าที่ใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ทั้งกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบุคลากรของโรงพยาบาลทุก กลุ่ม รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับภายหลังมีการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/495 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License