กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/498
ชื่อเรื่อง: | ความคิดเห็นของพยาบาลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพ การพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรทิพย์ เกยุรานนท์ อุทัย น้อยพรหม, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมโภช รติโอฬาร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ประกันคุณภาพภายใน โรงพยาบาลชุมชน |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาล (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพยาบาลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนที่มีขนาดต่างกัน (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ พยาบาลหัวหน้างานและพยาบาลผู้ปฏิบัติงานสังกัดกลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบจัดชั้นจำนวน 250 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า (1) ความคิดเห็นของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษต่อภาพรวมการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลอยู่ในระดับดี เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ความคิดเห็นด้านการเตรียมการและการจัดการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลอยู่ในระดับดี ด้านการดำเนินงานตามขั้นตอนอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการประเมินผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง (2) พยาบาลที่สังกัดโรงพยาบาลที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยโรงพยาบาลขนาด 90 เตียงขึ้นไป และโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง มีการดำเนินงาน ดีกว่าโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง (3) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาล ได้แก่ ความไม่ต่อเนื่องในการดำเนินงาน ขาดการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล ขาดการเตรียมบุคลากร บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่ให้ความสำคัญ ขาดแคลนบุคลากร ภาระงานมากเกินไป และลักษณะงานเวร เข้า บ่าย ดึก ส่วนข้อเสนอแนะในการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลนั้น ควรมีการอบรมเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการพยาบาลมีความต่อเนื่องในการดำเนินงาน มีโรงพยาบาลนำร่องพัฒนาเป็นเครือข่าย มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างโรงพยาบาล ผู้บริหารเห็นความสำคัญ และปฏิปัติอย่างจริงจัง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/498 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License