กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/499
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบบูรณาการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ สุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effectiveness of an Integrated palliative care model at Weingsra Crown Prince Hospital, Surat Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, อาจารย์ที่ปรึกษา อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย--การดูแล ผู้ป่วย--การดูแล |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมตามการรับรู้ของบุคลากรทีมสุขภาพระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบบูรณาการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ความพึงพอใจในงานของบุคลากรทีมสุขภาพระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบบูรณาการและ 3) ความพึงพอใจในบริการของญาติผู้ดูแลระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบบูรณาการ กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) บุคลากรทีมสุขภาพ ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างน้อย 1 ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพระราชเวียงสระ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล อําเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวม 20 คน และ 2) ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จํานวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความสามารถในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม และแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลซึ่งมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.88, 0.92, และ 0.89 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาชเท่ากับ 0.87, 0.95, และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและสถิติวิลคอกซัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) บุคลากรทีมสุขภาพรับรู้ว่ามีความสามารถในการดูแลผู้ป่วย แบบเป็นองค์รวมหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) บุคลากร ทีมสุขภาพมีความพึงพอใจในงานหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 3) ญาติผู้ดูแลมีความพึงพอใจในบริการหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .001 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/499 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext 151235.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License