Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/503
Title: | การศึกษาผลการดำเนินนโยบายและความมั่นคงด้านพลังงาน |
Other Titles: | The study of energy policies implementation and energy security |
Authors: | ปธาน สุวรรณมงคล สมเกียรติ เฮงวัชรไพบูลย์, 2496- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ฐปนรรต พรหมอินทร์ สุจิตรา หังสพฤกษ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ นโยบายพลังงาน -- ไทย |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการดำเนินนโยบายและความมั่นคงด้านพลังงาน(2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินนโยบายและความมั่นคงด้านพลังงาน 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินนโยบายและความมั่นคงด้านพลังงาน (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านนโยบายและความมั่นคงด้านพลังงาน ผลการวิจัยพบว่า (1) นโยบายพลังงานในด้านก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ไฟฟ้า การอนุรักษ์พลังงานประสบความสำเร็จในภาพรวมระดับปานกลาง สำหรับระดับความมั่นคงด้านพลังงาน ประเทศไทยประสบความสำเร็จในระดับปานกลางเช่นกัน โดยประเทศไทยยงคงต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศและยังมี ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานอยู่ในระดับต่ำ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินนโยบายพลังงาน ได้แก่ นโยบายและแผนพลังงาน ทรัพยากรและปฎิบัติงาน ปัจจัยแวดลัอมระดับโลก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน และความเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจอื่น ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้นโยบายด้านพลังงานไม่สามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เกิดจากตัวนโยบายเองที่ยังขาดความต่อเนื่อง ชัดเจนและเป็นนโยบายสำหรับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหนัาเป็นหลัก โดยไม่ได้มีการบูรณาการร่วมกับนโยบายด้านอื่น ๆ รวมทั้งสถานการณ์ด้านพลังงานของโลกที่มีความผันผวน ส่วนสาเหตุสำกัญที่กระทบต่อผลสำเร็จในนโยบายความมั่นคงด้านพลังงาน ได้แก่ การขาดการวางแผนระยะยาวในด้านนโยบายของไทยเพื่อที่จะเป็นแนวทางให้แก่ภาคเอกชนในการปรับตัว การไม่ให้ความสำกัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทีจะนำมา สนับสมุนให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งการสร้างค่านิยมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลังงานที่ไม่เหมาะสมที่ยังไม่สัมฤทธิผล (3) ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการดำเนินนโยบายด้านทลังงาน ได้แก่ ปัญหาด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ปัญหาความไม่แน่นอน ตลอดจนความไม่ต่อเนื่องของนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนหรัอภาคธุรกิจเอกชน ปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ (4) แนวทางการแก้ไขเพื่อให้การดำเนินนโยบายพลังงานประสบผลสำเร็จและก่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน จำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุง ด้านนโยบายให้มีความชัดเจน ต้องมีการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีสนับสมุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้สอดคลัองกับแนวทางนโยบายด้านพลังงานที่วางไวั โดยทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/503 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
114945.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License