Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/504
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorโกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอรพินธ์ อินทจักร, 2506--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-11T07:30:44Z-
dc.date.available2022-08-11T07:30:44Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/504-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยด้านบุคคล การปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานความรู้และระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ให้บริการงานอุบัติเหตุฉุกเฉินที่มีต่อการบริหาร จัดการการส่งต่อผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าของจังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มที่มีปัจจัยด้านต่างๆ แตกต่างกัน (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของการบริหารจัดการนี้ รูปแบบการวิจัยเป็นการสำรวจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 13 คน และใช้แบบสอบถามกับประชากรที่เป็นแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ ของแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 208 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที แมนวิทนีย์ยู ครัสคัล-วอลลีส การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 40 ปี สำเร็จแพทยศาสตรบัณฑิตมีรายได้ต่อเดือน 25,000 บาท มีประสบการณ์ในการทำงาน ตั้งแต่ 15 ปีขื้นไป ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชุน มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับดีมาก และเห็นด้วยว่านโยบายมีความชัดเจนส่วนผู้ให้บริการส่วนใหญ่อายุ 30 ปี หรือตํ่ากว่า สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 10,000 บาทหรือน้อยกว่า มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 6-15 ปี ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชุนไม่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่มีความรู้ในระดับดีมาก ผู้บริหารมีระดับความคิดเห็น เห็นด้วยมาก ในด้านระบบเครือข่ายบริการและการดำเนินงานส่งต่อผู้ป่วย ส่วนผู้ให้บริการมีระดับความคิดเห็น เห็นด้วยมาก ในด้านการดำเนินงานส่งต่อผู้ ป่วย (2) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มที่มีปัจจัยต่างกัน พบว่าในกลุ่มผู้บริหาร ไม่แตกต่างกัน แต่พบความแตกต่างของความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของกลุ่มผู้ให้บริการ โดยในด้านระบบเครือข่ายบริการ พบในกลุ่มที่มีระดับการศึกษา รายได้ และอายุต่างกัน ด้านการดำเนินงานส่งต่อผู้ป่วย พบในกลุ่มที่มีระดับการศึกษาและที่ตั้งสถานพยาบาลต่างกัน ด้านระบบการจ่ายเงิน พบในกลุ่มที่มีระดับการศึกษา ความชัดเจนในนโยบาย และความรู้แตกต่างกัน ด้านคุณภาพการรักษาพยาบาล พบในกลุ่มที่มีอายุ และประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน (3) ปัญหา อุปสรรคที่พบมากที่สุด คือการขาดความเข้าใจแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งต่อผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผู้บริหารโรงพยาบาล--ทัศนคติth_TH
dc.subjectบริการพยาบาลฉุกเฉินth_TH
dc.subjectงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินth_TH
dc.subjectผู้ป่วย--ไทย--สุราษฎร์ธานีth_TH
dc.titleการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร และผู้ให้บริการงานอุบัติเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับการบริหารจัดการการส่งต่อผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจังหวัดสุราษฎร์ธานีth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this survey were: (1) to study factors of personal attributes, work performance, work environmental, knowledge, and the opinions of health administrators and health care providers at the Emergency Departments concerning the referral management under the Universal Coverage System in Suratthani province; (2) to compare the opinions among different groups of these factors and; (3) to indentify problems, constraints, and suggestions of this management. The survey research was conducted by using a questionnaire and in-depth interview with 13 health administrators who were purposively selected. Two hundred and eight of doctors, and registered nurses of the Emergency Departments were studied by using a questionnaire. Data analysis was performed as percentage, mean, median, standard deviation, t-test, Mann-whitney test, Kruskal-Wallis test, One-way Analysis of Variance, and content analysis. The findings were as follows: (1) Most of health administrators were under 40 years old, had M.D. graduation, earned an average income of25,000 Baht per month, had work experiences more than 15 years, worked in community hospitals, had excellent knowledge level of the Universal Coverage Policy, and agreed that the policy was clear. Most of the health care providers were 30 years old or under, had baccalaureate graduation, earned an average income of 10,000 or less Baht per month, had work experiences of 6-15 years, worked in community hospitals, had excellent knowledge level of the Universal Coverage Policy, but did not agree that the policy was clear. The health administrators’ opinions were mostly agreeable on service network system and referral implementation. The health care providers’ opinions were mostly agreeable only on referral implementation; (2) when making a comparison of the opinions among different groups of these factors, there was no significant difference in the health administrators group. The significant difference was found in the health care providers group,concerning the service network system, with different education levels, incomes, and ages; on the referral implementation, with different education levels and hospital locations; on the payment system, with different education levels, policy knowledge and clear policy awareness; on the quality of care, with different age, and work experiences; (3)most of the problems and constraints were the lack of understanding of work guidelines of the referral implementation under the Universal Coverage Systemen_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
78992.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons