Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/504
Title: | การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร และผู้ให้บริการงานอุบัติเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับการบริหารจัดการการส่งต่อผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Authors: | นิตยา เพ็ญศิรินภา อรพินธ์ อินทจักร, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ผู้บริหารโรงพยาบาล--ทัศนคติ บริการพยาบาลฉุกเฉิน งานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ผู้ป่วย--ไทย--สุราษฎร์ธานี |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยด้านบุคคล การปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานความรู้และระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ให้บริการงานอุบัติเหตุฉุกเฉินที่มีต่อการบริหาร จัดการการส่งต่อผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าของจังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มที่มีปัจจัยด้านต่างๆ แตกต่างกัน (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของการบริหารจัดการนี้ รูปแบบการวิจัยเป็นการสำรวจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 13 คน และใช้แบบสอบถามกับประชากรที่เป็นแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ ของแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 208 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที แมนวิทนีย์ยู ครัสคัล-วอลลีส การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 40 ปี สำเร็จแพทยศาสตรบัณฑิตมีรายได้ต่อเดือน 25,000 บาท มีประสบการณ์ในการทำงาน ตั้งแต่ 15 ปีขื้นไป ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชุน มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับดีมาก และเห็นด้วยว่านโยบายมีความชัดเจนส่วนผู้ให้บริการส่วนใหญ่อายุ 30 ปี หรือตํ่ากว่า สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 10,000 บาทหรือน้อยกว่า มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 6-15 ปี ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชุนไม่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่มีความรู้ในระดับดีมาก ผู้บริหารมีระดับความคิดเห็น เห็นด้วยมาก ในด้านระบบเครือข่ายบริการและการดำเนินงานส่งต่อผู้ป่วย ส่วนผู้ให้บริการมีระดับความคิดเห็น เห็นด้วยมาก ในด้านการดำเนินงานส่งต่อผู้ ป่วย (2) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มที่มีปัจจัยต่างกัน พบว่าในกลุ่มผู้บริหาร ไม่แตกต่างกัน แต่พบความแตกต่างของความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของกลุ่มผู้ให้บริการ โดยในด้านระบบเครือข่ายบริการ พบในกลุ่มที่มีระดับการศึกษา รายได้ และอายุต่างกัน ด้านการดำเนินงานส่งต่อผู้ป่วย พบในกลุ่มที่มีระดับการศึกษาและที่ตั้งสถานพยาบาลต่างกัน ด้านระบบการจ่ายเงิน พบในกลุ่มที่มีระดับการศึกษา ความชัดเจนในนโยบาย และความรู้แตกต่างกัน ด้านคุณภาพการรักษาพยาบาล พบในกลุ่มที่มีอายุ และประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน (3) ปัญหา อุปสรรคที่พบมากที่สุด คือการขาดความเข้าใจแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งต่อผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/504 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License