กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5091
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ภาพวาดของเด็กปฐมวัยโรงเรียนวัดลานนาบุญจังหวัดนนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of preshool children's drawings at Wat Lannabun school in Nonthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พัชรี ผลโยธิน อัมพวัน สุภาเนตร, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาพเขียน ศิลปกรรมของเด็ก |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ขั้นพัฒนาการทางการวาดภาพของเด็กปฐมวัย และ (2) ลักษณะการวาดภาพของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดลานนาบุญ จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี จํานวน 5 คน ศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดลานนาบุญ จังหวัดนนทบุรี ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม และเลือกเด็กปฐมวัยในกลุ่มมา 5 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเป็นระบบจากบัญชีรายชื่อของเด็กปฐมวัยในชั้นเรียน ผู้วิจัยสังเกตพัฒนาการและลักษณะการวาดภาพของเด็กปฐมวัยเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกต การวาดภาพของเด็กปฐมวัย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) เด็กปฐมวัยจํานวน 1 คน มีพัฒนาการทางการวาดภาพอยู่ในขั้นที่ 2 คือ ขั้นก่อนการวาดภาพเป็นเรื่องราว และจํานวน 4 คน มีขั้นพัฒนาการทางการวาดภาพขั้นที่ 3 คือ ขั้นการวาดภาพเป็นเรื่องราว และ (2) ลักษณะการวาดภาพของเด็กปฐมวัย ปรากฏว่าการวาดภาพคน เด็กใช้รูปทรงเรขาคณิตเป็นอวัยวะและส่วนประกอบของร่างกาย มีการวาดเส้นตรงต่อจากศีรษะแทนลําตัวและแขนขา เรียกว่า การวาดแบบก้างปลา ส่วนใบหน้ามีจุดเด่นที่การวาดปากยิ้ม บ่งบอกถึงวัยเด็กที่สดใส การใช้สี เน้นการใช้สีสดตัดกัน มีการตัดขอบภาพวาดโดยการใช้สีที่เข้มกว่าเพื่อให้ภาพชัดเจน และมีการใช้สีที่ชื่นชอบ ๆ หลายครั้งเป็นรูปแบบของตนเอง การใช้ช่องไฟ ปรากฏว่า มีการใช้เส้นฐานแบ่งสัดส่วน เช่น วาดบ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นดินทางด้านล่างของกระดาษและพระอาทิตย์อยู่ทางด้านบน แสดงถึงความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กที่มีต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว ส่วนการออกแบบ มีการจัดรูปแบบการวาดภาพที่มีลักษณะเฉพาะ เมื่อเด็กประทับใจประสบการณ์ในเรื่องใดจะแสดงออกโดยตรงด้วยการวาดภาพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5091 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_122278.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License