กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5100
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการสร้างเรื่องด้วยภาพที่มีต่อความสามารถในการพูดเล่าเรื่องของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกุดโง้ง จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of story telling with picture creating activites on story telling ability of preschool children at Ban Kud Ngong Schook in Si Sa Ket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต
อำไพ สวัสดิราช, 2494-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การพูด--กิจกรรมการเรียนการสอน
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน--กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการพูดเล่าเรื่องของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการสร้างเรื่องด้วยภาพ กลุ่มตัวอย่างคือเด็กปฐมวัยชาย หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปีกําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านกุดโง้ง จังหวัดศรีสะเกษ จํานวน 19 คนได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการสร้างเรื่องด้วยภาพ และแบบวัดความสามารถในการพูดเล่าเรื่อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการสร้างเรื่องด้วยภาพ มีความสามารถในการพูดเล่าเรื่องอยู่ที่ คุณภาพระดับ 3 อยู่ในเกณฑ์ดี คิดเป็นร้อยละ 57.89 ระดับคุณภาพ 2 อยู่ในเกณฑ์พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 42.10 ระดับคุณภาพ 1 อยู่ในเกณฑ์ปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 0.00 และเมื่อวิเคราะห์คะแนนหลังการทดลองเมื่อเทียบความสามารถในการพูดเล่าเรื่อง หลังการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการสร้างเรื่องด้วยภาพ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5100
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_124090.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons