กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/512
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดทำแผนและการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อการพัฒนาสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดปราจีนบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา
จารุภา เชาวน์เจริญ, 2492-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เยาวภา ปิ่นทุพันธ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบล--งบประมาณ
แผนพัฒนาสุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การจัดทำแผนและการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จังหวัดปราจีนบุรี (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับบุคคลและปัจจัยระดับ อบต. กับการจัดทำแผนและการสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาสุขภาพ (3) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำแผน และสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดปราจีนบุรี ได้แก่ ประธานคณะกรรมการบริหาร อบต. และปลัด อบต. ทุกแห่ง ส่วนผู้แทนสมาชิก อบต. ได้จากการลุ่มอย่างง่าย อบต. ละ 1 คน รวมตัวอย่างทั้งสิ้น 183 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำแผนและการสนับสนุนงบประมาณของ อบต. ตามแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ร้อยละ สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) มีการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพเฉลี่ย 2.53 แผนต่ออบต. และจัดทำแผนครบ 4 องค์ประกอบมีสัดส่วนสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 60.7 มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนา สุขภาพคิดเป็นร้อยละ 4.6 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด โดยแผนพัฒนาด้านการส่งเสริมสตรี เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ ได้รับงบประมาณมากที่สุด เฉลี่ยร้อยละ 40.8 ของงบประมาณรายจ่ายเพื่อการพัฒนาสุขภาพทั้งหมด (2) ปัจจัยระดับบุคคลคือ ความมุ่งมั่นในการพัฒนา ความรู้ความสามารถด้านสาธารณสุขของประธาน อบต. และปลัด อบต. มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับจำนวนแผนและองค์ประกอบของแผนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ความตระหนักในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของสมาชิก อบต. มีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนงบประมาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ปัจจัยระดับ อบต. คือ จำนวนสมาชิก อบต. ที่เป็น อสม. การได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระดับชั้น อบต. ไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนแผนองค์ประกอบของแผน และการสนับสนุนงบประมาณ (3) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำแผนคือ บุคลากรที่จัดทำแผนไม่เพียงพอ ขาดความรู้ด้านสาธารณสุข ขาดการประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และประชาชนขาดความร่วมมือในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/512
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
79052.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons