Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/514
Title: | การพัฒนาแบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม |
Other Titles: | The development of a fall risk assessment for elderly patients at the in-patient unit in Somdetphraphutthaloetla Hospital, Samutsongkhram Province |
Authors: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา สุรีย์ หรงจิตร, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ ผู้สูงอายุ--อุบัติเหตุ--การป้องกันและการควบคุม ผู้สูงอายุ--การดำเนินชีวิต ผู้สูงอายุ--การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้พัฒนา ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่ คณะกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของกลุ่มการพยาบาลจำนวน 26 คน และ 2) กลุ่มผู้ทดลองใช้ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยใน จำนวน 56 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 โดยประเมินและอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาเรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วย สูงอายุ และสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 พัฒนาแบบประเมิน โดยประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้พัฒนาจำนวน 2 ครั้ง จนได้แบบการประเมินและรูปแบบการประเมินที่กลุ่มผู้พัฒนาเห็นพ้องกัน และระยะที่ 3 นำแบบประเมินไปทดลองใช้โดยกลุ่มผู้ทดลองใช้ 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ ประกอบด้วยการประเมินปัจจัยเสี่ยง 11 ปัจจัย คือ 1) อายุ 2) การเคลื่อนไหว 3) กำลังกล้ามเนื้อ 4) การมองเห็น 5) ระดับความรู้สึกตัว 6) ประวัติการหกล้ม 7) ได้รับยากลุ่มเสี่ยง 8) โรค/ปัญหาจากโรค 9) การขับถ่าย/กลั้นปัสสาวะไม่ได้ 10) สถานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และ 11) พื้นผิวห้อง/ทางเดิน มีการกำหนดรูปแบบการประเมินและจัดทำเป็นคูมือสำหรับผู้ประเมิน ในการทดลองใช้แบบประเมินของผู้ป่วยสูงอายุ พบวา ผู้ประเมินใช้เวลาในการประเมินเฉลี่ยต่อคน 3.35 นาที เวลาต่ำสุด 30 วินาที สูงสุด 9 นาที โดยมีค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ 0.75 ผู้ใช้แบบประเมิน มีความเห็นว่า แบบประเมินใช้ง่าย สะดวก และช่วยให้สามารถประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยสูงอายุได้ดี |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/514 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext 151239.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 24.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License