Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/515
Title: การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น
Other Titles: Development of electronic programmed instruction to enhance thai language learning achievement of students with visual impairment
Authors: กมลพัทธ์ ใจเยือกเย็น
Keywords: แบบเรียนสำเร็จรูป
นักเรียนพิการทางสายตา
คนพิการ -- การศึกษา
Issue Date: 2564
Publisher: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Citation: วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2564), หน้า 197-212
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น 2) พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น 3) เปรียบ เทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น และ 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จำนวน 20 คน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2561 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) บทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ปรากฎว่า บทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญและจำเป็น เพราะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ลักษณะบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่นักเรียนและครูต้องการมากที่สุด คือ การบรรยายเนื้อหาเป็นเสียงพูดหรือเสียงสังเคราะห์ และเป็นบทเรียนแบบรายบุคคล 2) ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเท่ากับ 77.00 / 80.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ภาษาไทยหลังการใช้บทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้ว 14 วัน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/515
ISSN: 1905-4653
Appears in Collections:STOU Education Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
44249.pdfเอกสารฉบับเต็ม348.74 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons