กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5163
ชื่อเรื่อง: ความต้องการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The needs for guidance and psychological counseling services of operating level employees in Yuasa Battery Thailand Public Company Limited in Samut Prakan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา มาลัยหอม, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)--พนักงาน
การแนะแนว
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการบริการแนะแนวและ การปรึกษาเชิงจิตวิทยาของพนักงานระดับปฏิบัติการ (2) เปรียบเทียบความต้องการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของพนักงานระดับปฏิบัติการ จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด และระยะเวลาการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย จากัด (มหาชน) จังหวัดสมุทรปราการ ณ เดือนกันยายน ปี 2555 จำนวน 251 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความต้องการบริการ แนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) พนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มีความต้องการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยภาพรวม ทั้ง 5 บริการอยู่ในระดับมาก คือ บริการสนเทศ บริการจัดวางตัวบุคคล บริการรวบรวมข้อมูลรายบุคคล บริการให้การปรึกษา และบริการติดตามและประเมินผล ตามลาดับ (2) พนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด และระยะเวลาการทำงานต่างกันมีความต้องการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาใน 5 บริการโดยรวม และบริการรายด้านไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5163
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_132623.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons