กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5178
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using a guidance activities package to enhance learning motivation of Mathayom Suksa V Students at Phuket Wittayalai School in Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิราภรณ์ ศักดิ์แก้ว.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กิจกรรมการเรียนการสอน
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
การแนะแนว--กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัด ภูเก็ตโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุด กิจกรรมแนะแนว ก่อนและหลังการทดลอง และ (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการเรียนภายหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวและแรงจูงใจกล่าวภายหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมที่ได้รับข้อสนเทศเพื่อการแนะแนว กลุ่มตัวอย่างทีใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย แล้วแบ่งโดยสุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียน ส่วนกลุ่มควบคุมไต้รับข้อสนเทศเพื่อการแนะแนว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แบบวัดแรงจูงใจในการเรียนที่มีค่าความเที่ยง .95 (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียน และ (3) ข้อสนเทศเพื่อการแนะแนว สถิติที่ใช้ไนการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยในกลุ่ม ทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว มีคะแนนแรงจูงใจในการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าคะแนน ตังกล่าวก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) คะแนนแรงจูงใจในการเรียน หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวสูงกว่าคะแนนดังกล่าวหลังการ ทดลองของกลุ่มควบคุมที่ไต้รับข้อสนเทศเพื่อการแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5178
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_143453.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons