กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/517
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติและปัญหาอุปสรรค ในการรวมระบบบริหารคุณภาพ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรม
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สราวุธ สุธรรมาสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศริศักดิ์ สุนทรไชย, อาจารย์ที่ปรึกษา
พนิดา ชลังสุทธิ์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ระบบบริหารงานคุณภาพ
การจัดการสิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงคการวิจัยครั้งนี้เพื่อ (1) คึกษาองฅ์ประกอบร่วมของข้อกำหนดที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระบบบริหารคุณภาพ (ISO 9001:2000) ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001: 1996) และระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (มอก.18001: 2542) (2) ศึกษาวิธีการ และแนวทางในการปฏิบัดิของการรวมข้อกำหนด ในบริษัทที่ได้มีการรวมระบบทั้งสามเข้าด้วยกัน (3) ศึกษาข้อดี ปัญหาอุปสรรค ของการรวมระบบการบริหารทั้งสามระบบ และ (4) วิเคราะห์หาแนวทางในการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ เมื่อมีการรวมระบบการบริหารจากการสำรวจบริษัทที่ได้รับการรับรอง และมีการรวมระบบบริหารทั้งสามเข้าด้วยกัน พบว่ามีทั้งหมด 8 บริษัท จากนั้นจึงคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 6 บริษัท โดยเครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อกำหนดของทั้งสามระบบและได้ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 ท่าน แล้วนำไปสัมภาษณ์ตัวแทนของบริษัทกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งครอบคลุมตัวแทนฝ่ายบริหาร ผู้ควบคุมเอกสาร ผู้ตรวจประเมิน ภายใน และพนักงานในแต่ละแผนกที่นำเอกสารไปปฏิบัติ ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อกำหนดที่ควรนำมาประยุกต์ร่วมกันได้เป็นข้อกำหนดที่มีเนื้อหาไกล้เคียงกันของทั้งสามระบบ ได้แก่ เรื่องนโยบาย กฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ โครงสร้างและความรับผิดชอบการฝึกอบรม จิตสำนึกและความสามารถ การสื่อสาร การบำรุงรักษา การสอบเทียบ การจัดซื้อจัดจ้างการควบคุมเอกสาร การควบคุมบันทีก การแก้ไขป้องกัน การตรวจประเมิน และการทบทวนของฝ่ายบริหาร (2) แนวทางในการปฏิบัติของการรวมข้อกำหนดไร้วิธิการเขียนเอกสารซึ่งสามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งสามระบบ และนำไปปฏิบัติใน ทิศทางเดียวกัน (3) การรวมกันดังกล่าวมีข้อดีคือลดระยะเวลาในการทำงานซ้ำซ้อนและทำให้การดำเนินงานเป็นแนวทางเดียวกัน ส่วนปัญหาอุปสรรคที่พบคือ เอกสารที่ครอบคลุมเนื้อหาของทั้งสามระบบ อาจเกิดความสับสนได้ในบางประเด็น (4) บริษัทที่มีแนวโน้มจะรวมระบบการบริหารทั้งสามเข้าด้วยกันสามารถนำข้อกำหนดที่มีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน นำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานขององค์กร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/517
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
79053.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons