กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5183
ชื่อเรื่อง: ภารกิจงานแนะแนวของโรงเรียนประถมศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The guidance function of primary school as perceived by administrators and teachers in schools under Phetchaburi Primary Education Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัญญะวีร์ ปรุงประทิน, 2504-
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 1
การแนะแนวการศึกษา
การแนะแนวในระดับประถมศึกษา
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภารกิจงานแนะแนวของโรงเรียน ประถมศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูต่อภารกิจงานแนะแนวของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 จำแนกตามตำแหน่งงาน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 93 คน และครู จำนวน 250 คน รวม 343 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาปรากฏว่า (1) ภารกิจงานแนะแนวของโรงเรียนประถมศึกษาตาม ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1 มี การปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) ผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความคิดเห็นต่อ การปฏิบัติภารกิจงานแนะแนวของโรงเรียนไม่แตกต่างกัน บุคลากรในสถานศึกษาขนาดต่างกันมี ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติภารกิจงานแนะแนวของโรงเรียนไม่แตกต่างกัน แต่บุคลากรที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อภารกิจงานแนะแนวของโรงเรียน ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 11-20ปี มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติภารกิจงานแนะแนวของโรงเรียนในทางบวกสูงกว่าความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 5-10 ปี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5183
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_143910.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons