กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/518
ชื่อเรื่อง: | การใช้หลักกฎหมายทั่วไปในคดีปกครอง : ศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรา 4 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of general principles of Laws in Administrative Cases : comparison with Section 4 according to the Civil and Commercial Code |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภาณินี กิจพ่อค้า พนิตนาถ เย็นทรัพย์, 2501- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชนินาฏ ลีดส์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ ศาลปกครอง--การพิจารณาและตัดสินคดี |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหลักกฎหมายทั่วไป ( 2) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการใช้หลักกฎหมายทั่วไปของต่างประเทศ (3 )ศึกษาการใช้หลักกฎหมายทั่วไปของศาลไทย ในการพิจารณาคดีปกครองและคดีแพ่ง (4) วิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้หลักกฎหมายทั่วไปในการพิจารณาคดี ปกครองและคดีแพ่ง (5) เสนอแนะแนวทางการใช้หลักกฎหมายทั่วไปในคดีปกครอง วิธีดําเนินการวิจัยเป็นการวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) ผู้วิจัยได้ทําการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลจากทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ จากหนังสือ ตํารา บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ กฎหมายและ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง คําพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และคําพิพากษาของศาลฎีกา แหล่งที่มาของข้อมูลใน การศึกษาค้นคว้าได้จากเอกสารโดยตรงและข้อมูลในระบบออนไลน์ การวิจัยเป็นการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบการใช้หลักกฎหมายทั่วไประหว่างคดีปกครองและคดีแพ่ง ในส่วนของการศึกษาการใช้หลักกฎหมายทั่วไปของ ต่างประเทศ ผู้วิจัยได้นําเสนอบริบทเกี่ยวกับการใช้หลักกฎหมายทั่วไปของประเทศฝรั่งเศส และเยอรมัน สรุปผลการวิจัย (1) หลักกฎหมายทั่วไปเป็นหลักที่ยืนอยู่ เบื้องหลังกฎหมายลายลักษณ์อักษร มีสภาพบังคับทางกฎหมายโดยผ่านการวินิจฉัยของศาล ในกฎหมายเอกชนหลักกฎหมายทั่วไปมุ่งคุ้มครองสิทธิ ระหวางบุคคล ส่วนในกฎหมายมหาชนหลักกฎหมายทั่วไปมุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการกระทําของรัฐ (2) ฝรั่งเศสและเยอรมันต่างก็มีการใช้หลักกฎหมายทั่วไปในการวินิจฉัยคดีและมีหลักกฎหมายร่วมที่เป็นพื้นฐานในกลุ่มสหภาพยุโรป (3) หลักกฎหมายทั่วไปในคดีปกครองมาจากการใช้เหตุผลของตุลาการและรัฐธรรมนูญ หลักกฎหมายทั่วไปในคดีแพ่งมาจากการพิจารณาข้อเท็จจริงภายใต้ขอบเขตกฎหมายในเรื่องนั้น (4) หลักพื้นฐานในการวินิจฉัยคดีปกครอง มุ่งคุ้มครองมิให้ผู้ใช้อํานาจทางปกครองละเมิดสิทธิผู้อยู่ใต้อํานาจปกครอง หลักพื้นฐานในการวินิจฉัยคดีแพ่งจะมุ่งคุ้มครองสิทธิระหว่างบุคคลต่อบุคคล (5) ผู้วิจัยเสนอแนะให้ บัญญัตินิยามความหมายของหลักกฎหมายทั่วไปและบัญญัติให้การใช้หลักกฎหมายทั่วไปครอบคลุมการวินิจฉัย คดีที่ต้องใช้กฎหมายเฉพาะในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ.2543 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/518 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
149469.pdf | เอกสารฉบับเต็ฒ | 35.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License