กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5191
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายการปรับตัวของผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors that predict the adaptation of Prisoners in Bang Kwang Central Prison
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง
บัญญัติ นุชอ่อง, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--การศึกษาเฉพาะกรณี
นักโทษ--การดำเนินชีวิต
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปรับตัวของผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง (2) เปรียบเทียบระดับการปรับตัวของผู้ต้องขังจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา คดีที่ต้องโทษ กำหนดโทษ และระยะเวลาที่ต้องโทษ และ (3) ศึกษาอำนาจในการทำนายของตัวแปรใน ด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง, ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนผู้ต้องขัง, ด้านส้มพันธภาพกับครอบครัว, ด้านสัมพันธภาพกับเจ้าหน้าที่ และด้านการมีเป่าหมายของชีวิตสำหรับการทำนายการปรับตัวของผู้ต้องขัง การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำกลางบางขวาง ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีของยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 350 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผล ต่อการปรับตัวของผู้ต้องขัง และ ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความสามารถในการปรับตัว เพื่อใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ แบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาปรากฏว่า (1) การปรับตัวของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางบางขวาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผู้ต้องขังที่มีปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอายุ ระดับการศึกษา คดีที่ ต้องโทษ กำหนดโทษ และระยะเวลาที่ต้องโทษต่างกันมีการปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ตัวแปรทำนายทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักและ เข้าใจตนเอง ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนผู้ต้องขัง ด้านสัมพันธภาพกับครอบครัว ด้านสัมพันธภาพ กับเจ้าหน้าที่ และด้านการมีเป้าหมายของชีวิต มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตอยู่ใน เรือนจำของผู้ต้องขัง และสามารถร่วมกันพยากรณ์การปรับตัวของผู้ต้องขังได้ร้อยละ 67
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5191
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_151043.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons