Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/522
Title: | ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาศึกษากรณีการหักลดหย่อนภาษีของสามีและภรรยา |
Other Titles: | Personal income tax, a case study on tax allowance for married couple |
Authors: | ภาณินี กิจพ่อค้า งามพรต พรหมมานต, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชนินาฎ ลีดส์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา--การหักลดหย่อน สามีและภรรยา--ภาษี |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ศึกษากรณีการหักลดหย่อนภาษีของสามีและภรรยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัย เรื่อง 1) ความเหมาะสมของการหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ของ บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เฉพาะเรื่องค่าลดหย่อนภาษีเงินได้สามีและภรรยา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและช่องว่างทางกฎหมายเกี่ยวกับการหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ของสามีและภรรยา และ 3) เสนอแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภริยา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาจากกฎหมายรัษฎากรไทยและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง คำสั่ง ระเบียบ แนวปฏิบัติ คำพิพากษาของศาล ตำราทางกฎหมาย รวมถึงการวิเคราะห์เอกสารและงานวิทยานิพนธ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการปรับปรุงการลดหย่อนภาษีเงินได้ของสามีและภรรยา ผลการศึกษาพบว่า 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและหลักการของกฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในการหักค่าลดหย่อนภาษีของสามีและภริยา 2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยและมาตรการของต่างประเทศ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและช่องว่างทางกฎหมายเกี่ยวกับการหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ของสามีและภรรยา 4) เสนอแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภริยา การหักค่าลดหย่อนภาษีดังกล่าวข้างต้นนั้นไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากราคาสินค้าที่แพงขึ้น อันมีผลต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ภาระค่าใช้จ่ายบุตรและภาระในการดูแลคนภายในครอบครัวมีความจำเป็นมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละครอบครัวและเป็นสภาวะจำยอมของสามีและภรรยาที่ต้องใช้จ่าย ดังนั้นเพื่อบรรเทาภาระในการชำระภาษีดังกล่าวรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานต่างๆ ควรเพิ่มการลดหย่อนภาษีให้ทั้งฝ่ายสามีและภรรยาตามมาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากรให้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเสนอแนวคิดในการปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายเรื่องการหักค่าลดหย่อนภาษีข้างต้นเนื่องจากการหักค่าลดหย่อนดังกล่าวนั้นยังไม่เป็นธรรมและเอื้ออำนวยครอบครัวส่วนใหญ่ในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน การเพิ่มค่าลดหย่อนให้มากขึ้นกว่าเดิมนั้นเป็นมาตรการที่สอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจที่รายจ่ายในการดูแลครอบครัวสูงขึ้น นอกจากจะเป็นการบรรเทาภาษีของสามีและภรรยาแล้วนั้น ยังสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตและครอบครัวได้อีกด้วย การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รวมทั้งภาษีเงินได้ของสามีภรรยาจะนำไปสู่ความมั่นคงของสถาบันครอบครัว อันเป็นสถาบันขั้นต้นในสังคม ที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศชาติในอนาคต |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/522 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | 21.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License