Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5236
Title: การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลพบุรี สระบุรีและสิงห์บุรี
Other Titles: Internal quality assurance operation of vocational colleges in Lop Buri, Saraburi, and Sing Buri Provinces
Authors: จำลอง นักฟ้อน
สมชาย พงษ์นภางค์, 2492-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ประกันคุณภาพภายใน
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลพบุรี สระบุรีและสิงห์บุรี 2) เปรียบเทียบการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยการอาชีพในลพบุรี สระบุรีและสิงห์บุรี จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและจำแนกแต่ละสถานศึกษา และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลพบุรี สระบุรี และสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 42 คน และ ครูผู้สอน จำนวน 85 คน รวม 127 คน ของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลพบุรี สระบุรีและ สิงห์บุรี เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยการอาชีพตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าดัชนี ความสอดคล้องเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยการอาชีพใน จังหวัดลพบุรี สระบุรี และสิงห์บุรี ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลพบุรี สระบุรี และสิงห์บุรี จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในภาพรวมและรายด้านมีระดับการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกแต่ละสถานศึกษาพบว่ามีระดับการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัญหาสำคัญในการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ได้แก่ การประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาการสร้าง และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และงานวิจัยและการบริหารจัดการรักษาผู้เรียนไม่ให้ออกกลางคัน และข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่ การดำเนินการให้ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาเพิ่มขึ้น การส่งเสริมด้านนวัตกรรมและการวิจัยและการส่งเสริมและให้บริการวิชาชีพสู่ชุมชน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5236
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
98110.pdf8.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons