กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5238
ชื่อเรื่อง: | บทบาทของข้าราชการการเมืองในการสนับสนุนการบริหารงานของรัฐมนตรี : กรณีศึกษากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Roles of political officials in supporting the Minister Administration : a case study of the Minister of Agriculture and Cooperatives |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รสลิน ศิริยะพันธุ์ จันทร์จิรา ไหมดี, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์--ข้าราชการ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของข้าราชการการเมืองในการสนับสนุนการบริหารงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการแสดงบทบาทของข้าราชการการเมืองในการสนับสนุนการบริหารงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ (3) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการแสดงบทบาทของข้าราชการการเมืองในการสนับสนุนการบริหารงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า (1) บทบาทของข้าราชการการเมืองในการสนับสนุนการบริหารงานของรัฐมนตรี แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ บทบาทที่บัญญัติตามกฎหมายคือ การประสานงานกับรัฐสภา หน่วยงานราชการต่างๆ ข้าราชการประจำ ภาคเอกชน และประชาชน เป็นผู้แทนในการรับฟังข้อเสนอแนะ เรื่องร้องเรียนในการเจรจาเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดพันธะทางกฎหมาย การเข้าประชุมแทนรัฐมนตรีทั้งในการประชุมในประเทศ และต่างประเทศ การประชุมของฝ่ายบริหาร ปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐมนตรีในงานพิธีการของราชการหรือเอกชน และการให้คำปรึกษา วิเคราะห์ กลั่นกรองงาน เสนอแนะ และเสนอข้อคิดเห็น ส่วนบทบาทอื่น ๆ ที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย คือ การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงาน โครงการ งบประมาณของกระทรวง การติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ และผลการดำเนินงานของกระทรวง การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวง และดำเนินการเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน (2) ปัญหาอุปสรรคในการแสดงบทบาทของข้าราชการการเมือง คือปัญหาในด้านข้อกำหนดและอำนาจหน้าที่ ในเรื่องความไม่เป็นรูปธรรมและไม่ชัดเจนของกรอบการทำงานและอำนาจหน้าที่ ด้านบุคลากร คือ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของข้าราชการการเมือง ความร่วมมือของข้าราชการประจำ และจำนวนผู้ปฏิบัติงานจากฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจา ด้านระบบการปฏิบัติงาน ในเรื่องการบังคับบัญชา สั่งการ กำกับดูแล ความชัดเจนในการมอบหมายงานปฏิบัติงาน และขั้นตอนการปฏิบัติงาน (3) ข้อเสนอแนะในการแสดงบทบาทของข้าราชการการเมือง คือด้านข้อกำหนดและอำนาจหน้าที่ โดยกำหนดกรอบการทำงานและอำนาจหน้าที่ ด้านบุคลากร โดยการกำหนดคุณสมบัติของฝ่ายการเมือง การแสวงหาความร่วมมือจากข้าราชการประจำ และการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับจำนวนผู้ปฏิบัติงาน จากฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ด้านระบบการปฏิบัติงาน โดยการกำหนดเกี่ยวกับการบังคับบัญชา สั่งการกำกับดูแล ออกคำสั่งในการมอบหมายงานในเรื่องต่างๆ และศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานของราชการ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5238 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
130374.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License