กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/523
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาบทเรียนเลิร์นนิ่งออบเจ็คผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a learning object lesson via the internet with the use of inquiry learning approach in the Science Course on the topic of systems i
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัทรภร ตาไชยวงค์
ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์
วรางคณา โตโพธิ์ไทย
คำสำคัญ: การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แหล่งอ้างอิง: วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. ปีที่ 13, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2563), หน้า 30-44
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนเลิร์นนิ่งออบเจ็คผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนดังกล่าว และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) บทเรียนเลิร์นนิ่งออบเจ็คผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) บทเรียนเลิร์นนิ่งออบเจ็คผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ มีประสิทธิภาพ คือ 80.23/79.20 81.30/80.40 และ 80.89/80.20 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนเลิร์นนิ่งออบเจ็ค ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนเลิร์นนิ่งออบเจ็ค ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ในระดับมาก.
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/523
ISSN: 1905-4653
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:STOU Education Journal

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
43326.pdfเอกสารฉบับเต็ม618.36 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons