กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5258
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์โดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านป่าลัน จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of analytical reading and writing skill with the use of a Thai language reading and writing activities package for Prathom Suksa IV students of Banpalun School in Chiangrai province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันตรี คุปตะวาทิน
บุปผา มาระวิชัย, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษาไทย--การเขียน--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ภาษาไทย--การอ่าน--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ภาษาไทย--กิจกรรมการเรียนการสอน
ภาษาไทย--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--เชียงราย
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์ ระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 (2) ศึกษาอัตราพัฒนาการทักษะการอ่านและการเขียน เชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนภาษาไทยประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านป่าลัน ตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 แผน (2) ชุดกิจกรรมการอ่าน และการเขียนภาษาไทย จำนวน 10 กิจกรรม (3) แบบทดสอบทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์ จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ รวม 30 คะแนน และเป็น แบบทดสอบสอบอัตนัย 6 ข้อ รวม 30 คะแนน (4) แบบฝึกหัดท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แบบฝึกหัด และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่าน และการเขียนเชิงวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าร้อยละผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนภาษาไทยมี คะแนนทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนทักษะการอ่านเชิง วิเคราะห์คิดเป็นร้อยละ 86.67 และคะแนนทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ คิดเป็นร้อยละ80.00 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนด (2) นักเรียนมีคะแนนอัตราพัฒนาการในการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์ระหว่างเรียน เพิ่มขึ้น เท่ากับ 1.62 คะแนน ต่อครั้ง จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการ เรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์ อยู่ในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5258
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_119140.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons