กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5260
ชื่อเรื่อง: บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาในฐานะนิติบุคคล เขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Roles of the basic education school administrator affecting management efficiency of school as a juristic person in Phichit educational service area, zone 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำลอง นักฟ้อน
สมศักดิ์ นลินรัตนกุล, 2491-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริหารโรงเรียน--การบริหาร--ไทย--พิจิตร
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของผู้บรหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาในฐานะนิติบุคคล เขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1 (2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาในฐานะนิติบุคคล จำแนกตามสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง และ (3) ศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาในฐานะนิติบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษา และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1 จำนวน 270 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยง .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีผลต่อประสิทธิภาพ การบริหารจัดการสถานศึกษาในฐานะนิติบุคคล ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมเห็นว่า มีผลอยู่ในระดับมาก (2) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในฐานะนิติบุคคล ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วย ผู้บริหารสถานศึกษา และประธานกรรมกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความแตกต่างกัน และ (3) แนวทางในการเสริมสร้างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ บทบาทด้านการบริหารงบประมาณ บทบาทด้านบริหารทั่วไป และบทบาทด้านการบริหารงานบุคคล ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5260
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
86746.pdf1.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons