Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5261
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา ภัสสรศิริth_TH
dc.contributor.authorสมหมาย สันวัง, 2507-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-04-02T13:31:28Z-
dc.date.available2023-04-02T13:31:28Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5261en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความรู้ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา (2) ประเมินเจตคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน (3) ศึกษากระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน (4) ศึกษาผลผลิตของการทำวิจัยในชั้นเรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูระดับประถมศึกษาโรงเรียนของรัฐในอำเภอรัตนบุรี เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง .79 มี 5 ตอน ตอน ที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของครู ตอนที่ 2 เป็นแบบเลือกตอบเกี่ยวกับความรู้ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน ตอนที่ 3 เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับเกี่ยวกับเจตคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ตอนที่ 4 เป็นแบบเลือกตอบเกี่ยวกับกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน ตอนที่ 5 เป็นแบบเลือกตอบเกี่ยวกับผลผลิตของการทำวิจัยในชั้นเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยปรากฏผลว่า (1) ความรู้ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนครูส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65-99) มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน การตั้งคำถามเชิงวิจัย การกำหนด วัตถุ ประสงค์ ของการวิจัย การตั้งสมมุติฐานหรือ คาดคะเนคำตอบของปัญหาวิจัย การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างการวิจัย การเลือกเครื่องมือและวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และการสรุปผลการวิจัย (2) เจตคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูมีเจตคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างไม่ดี (3) กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูส่วนใหญ่นำปัญหาการจัดการ เรียนการสอนมาทำวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้เครื่องมือหรือวิธีการสังเกตและแบบทดสอบเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่ใช้สถิติร้อยละ และการแจกแจงความถี่ สำหรับการรายงานผลการวิจัยส่วนใหญ่รายงานแบบไม่เป็นทางการ และ (4) ผลผลิตครูส่วนใหญ่ทำวิจัยในชั้นเรียนแล้ว คน ละ 1 เรื่อง และกำลังทำวิจัยอีกคนละ 1 เรื่อง หัวข้อวิจัยส่วนใหญ่เลือกจากปัญหาการเรียนการสอน การเผยแพรผลงานวิจัยในชั้นเรียนใช้วิธีการจัดพิมพ์เป็นรายงานการวิจัย และส่วนใหญ่นำผลการวิจัยไปใช้ปรับปรุงพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectครูประถมศึกษา--วิจัยth_TH
dc.subjectวิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษาth_TH
dc.subjectห้องเรียน--วิจัยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleการประเมินตนเองเกี่ยวกับการทำการวิจัยในชั้นเรียนของครูประถมศึกษาอำเภอรัตนบุรี เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2th_TH
dc.title.alternativeSelf evaluation on conducting classroom research of Primary School Teachers of Rattanaburi District in Surin Educational Service Area 2en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
98114.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons