กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5268
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเครือข่ายภูผา-นาสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effectiveness of academic administration based on the application of sufficiency economy philosophy in Phupha-Nasak network Schools under the Office of Chumphon Primary Education Service Area 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัตนา ดวงแก้ว สาคร แสนโคตร, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี เศรษฐกิจพอเพียง การบริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเครือข่ายภูผา-นาสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 (2) เปรียบเทียบประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามประเภทของสถานศึกษา และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนา การบริหารงานวิชาการโดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูจำนวน 125 คนจากสถานศึกษาเครือข่ายภูผา-นาสัก 14 โรง เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์ชนิดมีกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเครือข่ายภูผา-นาสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) สถานศึกษาต่างประเภทกัน มีประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่แตกต่างกัน และ(3) ข้อเสนอแนะได้แก่ การบริหารจัดการศึกษาควรเน้นการมีส่วนร่วม ของชุมชน การพัฒนาครูควรยึดหลักการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาผู้เรียนควรเน้นให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5268 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
149639.pdf | 19.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License