Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5317
Title: แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลจางเหนือ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
Other Titles: Guidelines for developing the management of preschool children development centers under Chang Nuea Sub-District Administration Organization, Mae Moh District, Lampang Province
Authors: เก็จกนก เอื้อวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพัตรา มาดหมาย, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพและปัญหาการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลจางเหนือ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และ (2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลจาง เหนือ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจางเหนือ 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจางเหนือ 2 คน เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจางเหนือ 1 คน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลจางเหนือ 1 คน ตัวแทนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจางเหนือ 4 คน ตัวแทน คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 คน ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก 8 คน และตัวแทนผู้ปกครอง 16 คน รวม ทั้งสิ้น 37 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการให้บริการจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดย บุคลากรที่มีประสบการณ์ และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมพอควร สำหรับปัญหาพบว่า เด็กบางส่วนขาดภาวะโภชนาการไม่มีแพทย์ร่วมตรวจสุขภาพเด็ก บุคลากรมีภาระงานมากและต้องปฏิบัติหน้าที่หลายตำแหน่ง บุคลากรไม่เคยฝึกอบรมด้านความปลอดภัย ไม่มีความรู้ในการจัดทำหลักสูตร และการประเมินพัฒนาการเด็ก สื่อวัสดุอุปกรณ์งบประมาณไม่เพียงพอ อาคารสถานที่บางส่วนไม่ได้มาตรฐาน ชุมชนมี ส่วนร่วมแบบร่วมแรงเป็นส่วนใหญ่ ขาดการติดตามประเมินผล รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่เป็นรูปธรรม (2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงาน พบว่า ควรมีการติดตามประเมินผล และดูแลเด็กที่ขาดภาวะโภชนาการ ควรประสานทีมแพทย์ร่วมตรวจสุขภาพเด็กประจำปี ควรจัดหาบุคลากรเพื่มเติม ควรให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย การจัดทำหลักสูตรการประเมิน พัฒนาการเด็ก ควรจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์และจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม ควรมีการปรับปรุงอาคารสถานที่เน้นความปลอดภัย ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแก่ชุมชน ส่งเสริมให้มีการติดตามประเมินผล สร้างเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และควรตจัดให้มีผู้ประสานงานส่วนกลางในการดำเนินงานเครือข่าย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5317
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128314.pdf16.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons