กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5366
ชื่อเรื่อง: การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The implementation of foreign labor policy : a case study of border area in Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชินรัตน์ สมสืบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จเร ธรรมนิมิต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
แรงงานต่างด้าว--นโยบายของรัฐ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวัดระดับความสำเร็จของการนำนโยบาย แรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความสำเร็จการนำนโยบาย แรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ (3) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการนำนโยบายแรงงานต่างด้าว ไปปฏิบัติ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนที่เกี่ยวข้องในการนำ นโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง และ อำเภออุ้มผาง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม รวมจำนวน 358 คน แยกเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่นำ นโยบายไปปฏิบัติ จำนวน 179 คน และประชาชนผู้รับบริการ จำนวน 179 คน เครื่องมึอที่ใช้เป็นแบบ สอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-Test และ F-Test ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความสำเร็จของการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาความสำเร็จทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านบุคลิกภาพ ของผู้ปฏิบัติ ด้านความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติ ด้านสถานะ อำนาจ ทรัพยากรของหน่วยงาน ด้านจำนวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านความสามารถในการต่อรอง ด้านการสนับสนุนจากสื่อมวลชน นักการเมึอง หัวหน้าหน่วยงานอื่นๆ กลุ่มต่างๆ และบุคคลสำคัญ อยู่ในระดับปานกลาง (2) การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อความสำเร็จของการนำ นโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ พบว่าบุคลากรที่มีอายุและประเภทบุคลากรที่แตกต่างกัน มีความ คิดเห็นต่อความสำเร็จของการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 (3) แนวทางการแก้ไขปัญหา จะต้องบูรณาการทุกส่วนใหัพร้อมกัน คือ ด้านจด ทะเบียนและขอใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว ด้านมาตรการควบคุมใหัรัดกุมและเหมาะสม ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรในหน่วยงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5366
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
107656.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons