กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/539
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมพัฒนาทีมงานต่อความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นทีมและความพึงพอใจในงาน ของทีมวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทิพย์ เชิดชูพงศ์ล้ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชริน สินธวานนท์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
กลุ่มทำงาน
วิสัญญีพยาบาล
การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ (1) ความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นทีม (2) ความพึงพอใจในงานของสมาชิกทีมวิสัญญีพยาบาล และ (3) ความพึงพอใจของวิสัญญีแพทย์ต่อการปฏิบัติงานของทีม ทั้งก่อนและหลังการฝึกอบรมโดยโปรแกรมพัฒนาทีมงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกทีมวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 40 คน ซึ่งทีมวิสัญญีพยาบาลในหอผ่าตัดต่าง ๆ ได้รับการจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบด้วยการสุ่มอย่างง่ายได้ตัวอย่างกลุ่มละ 20 คน และวิสัญญีแพทย์ 17 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาทีมงานที่สร้างขึ้นตามแนวคิดการพัฒนาทีมงานให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพความต้องการของทีมวิสัญญีพยาบาล และได้รับการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บข้อมูลด้วยแบบทดสอบความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นทีม ความพึงพอใจในงาน และความพึงพอใจของวิสัญญีแพทย์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ซัลฟ่าเท่ากับ 0.870.92 และ 0.86 ตามลำดับ เก็บรวบรวม ข้อมูลก่อน และหลังการจัดอบรม เปรียบเทียบคะแนนความสามารถและความพึงพอใจด้วยการทดสอบแมนวิทนีย์ยู และวิลคอกซอน ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมพัฒนาทีมงาน (1) คะแนนความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นทีมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 แต่คะแนนความสามารถก่อนและหลังของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (2) คะแนนความพึงพอใจในงานของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และคะแนนความพึงพอใจในงานภายหลังของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ (3) คะแนน ความพึงพอใจของวิสัญญีแพทย์ต่อการปฏิบัติงานภายหลังสูงกว่าก่อนจัดอบรม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/539
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
79865.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons