กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5429
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์วิชาคอมพิวเตอร์เรื่องข้อมูลสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of an electronic learning package in the computer course on the topic of information for Prathom Suksa V students in schools under Uthai Thani Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรรณิกา คำเวิน, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
คอมพิวเตอร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--การสอนด้วยสื่อ
คอมพิวเตอร์--การสอนด้วยสื่อ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์วิชาคอม พิวเตอร์ เรื่องข้อมูลสารสนเทศสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 45 คน ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ที่โรงเรียนบ้านหนองฝาง และโรงเรียนบ้านหูช้าง จังหวัดอุทัยธานี ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลาย ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องข้อมูลสารสนเทศ (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบคู่ขนาน และ (3) แบบ สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียน ทางอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 80.10/80.61 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์มีความก้าวหน้าทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นว่าชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์มีความเหมาะสมในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5429
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159202.pdf22.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons