Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5441
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสวภัทร คีรีพิทักษ์, 2513--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-04-05T02:51:19Z-
dc.date.available2023-04-05T02:51:19Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5441-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ 2) พฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ 3) ระด้บความสำคัญปัจจ้ยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อ พฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด จังหวัดกระบี่ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกของสหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด ที่ซื้อสินค้ากับสหกรณ์ ปี 2558 โดยศึกษาจากกลุ่ม ตัวอย่าง จำนวน 268 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า (1) สมาชิกสหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 59.0 อายุระหว่าง 41 - 50 ปี ร้อยละ 41.0 ระดับ การศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 39.2 เป็นสมาชิกสหกรณ์ 15 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 38.1 รายได้ของครัวเรือนต่อเดือน มากกว่า 20,000 บาท/เดือน ร้อยละ 56.3 รายจ่ายของครัวเรือนต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท/เดือน ร้อยละ 37.3 (2) พฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิก ได้แก่ การซื้อปุ๋ย ร้อยละ 97.4 เคมีการเกษตร ร้อยละ 92.5 น้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 24.3 และ ข้าวสาร ร้อยละ 87.3 (3) ส่วนประสมการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิกโดยรวมมีระดับความสำคัญในระดับมาก ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด และการจัดจำหน่าย ตามลำดับ ทั้งนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ที่มีระดับ ความสำคัญมาก ได้แก่ สินค้ามีคุณภาพ ความสะอาดของสินค้า บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและโดดเด่น และมีสินค้าหลายยี่ห้อ/ตราสินค้า ด้านราคา ได้แก่ ราคาสอดคล้องกับคุณภาพ บริการเงินเชื่อ และราคาใกล้เคียงกับ ตลาด ด้านการจัดจำหน่าย ได้แก่ สถานที่เดินทางมาสะดวก สะอาด และจัดสินค้าเป็นหมวดหมู่หาง่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ผ่านผู้นำกลุ่มสมาชิก การพูดจาเป็นมิตร ยิ้มแย้ม แจ่มใสของพนักงาน และความสุภาพของพนักงาน (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยเคมีการเกษตร และข้าวสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านราคา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อน้ำมัน เชื้อเพลิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการซื้อสินค้าth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleพฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด จังหวัดกระบี่th_TH
dc.title.alternativePurchasing behavior of members of Pak Nam Land Settlement Cooperatives Ltd., Krabi Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research were to study 1) personal factors, 2) purchasing behavior, 3 ) The level of impotence in marketing mix factors which influenced the purchasing behavior of members, 4) The relationship between the marketing mix factors and purchasing behavior of members Pak Nam Land Settlement Cooperatives Ltd., Krabi Province. This study was a survey research. Study population was 268 members of the Pak Nam cooperatives who purchased goods with cooperative education in 2558. In This study, Taro Yamane method was used to determine: the sample size. A questionnaire was used as data collecting tool. The data were statistically analyzed via frequency, percentage, average, standard deviation, and chi-square. The results showed that 1) Most of the members were male (59.0 %) with the age range 41-50 years old ( 41.0 %) and had finished education at primary level or lower ( 39.2 %) , The individuals who were members of the cooperatives for 15 years or more were at ( 38.1 %) , The members had a household income more than 20,000 baht/month (56.3%), And household expenditure at 10,001-15,000 baht/month (37.3 %), 2 ) Purchasing behavior of cooperative members were the purchases of fertilizer, agricultural chemicals, fuel, and rice (97.4, 92.5, 24.3, and 87.3%, respectively). 3 ) The level of importance in marketing mix factors that in flucnced the purchasing behavior of members was at high level in the aspect of products, price, marketing, promotion and product distribution. Moreover, in term of product, factors in high level of importance were good quality product, cleanliness, proper and notable packaging, and varieties of brands/logos. In term of price, the factors were the corresponds between price and product, service credits, and similarity of product and market prices. In term of product distribution, the factors were the traveling convenience, cleanliness, and easy-to-find product categorization. Lastly, in term of marketing promotion, the factors were the advertisement through group leaders, friendly communication, cheerfulness of staffs, and formalities of staffs. 4) It was found that the marketing mix factors in all aspects were significantly relating to the purchasing behavior in buying fertilizers agriculture chemicals, and rice at the confident level of 0.05. For the price factor, it also related to the purchasing behavior of fuel (p < 0.05). However, for other factors, there were no significant relationship between the factors and purchasing behavior.-
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_151526.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons